วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การประเมินหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๓๘ สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


ชื่อรายงานการวิจัย : การประเมินหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๓๘ สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมบูรณ์ บุญฤทธิ์
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
ปีงบประมาณ : ๒๕๔๗
ทุนอุดหนุนการวิจัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๓๘ สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในด้านต่างๆ คือ ด้านบริบท (Content) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Output) และด้านผลกระทบ (Impact) ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือเป็นแบบประเมินในด้านต่าง ๆ แล้วให้กลุ่มตัวอย่าง ๔ กลุ่มได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน ๓๙ รูป/คน อาจารย์ จำนวน ๖๙ รูป/คน นิสิต จำนวน ๑๓๒ รูป และผู้ใช้งานนิสิตปฏิบัติศาสนกิจ จำนวน ๑๖๓ รูป/คน รวมทั้งสิ้น จำนวน ๔๐๓ รูป/คน เป็นผู้ตอบแบบประเมินในด้านที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มตัวอย่าง

ผู้วิจัยได้นำแบบประเมินที่กลุ่มตัวอย่างตอบมาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (arithmetic mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)

ผลการวิจัย พบว่า

๑. ด้านบริบท (Content) พบว่าการจัดการศึกษาหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๓๘ สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิยาลัย มีความเหมาะสมสอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน และวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในระดับมาก ทั้งในด้านความชัดเจนของภาษาที่ใช้และง่ายต่อความความเข้าใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน้าที่การงานและในชีวิตประจำวัน มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม และมีความสอดคล้องกับสมณสารูปของเรียน

๒. ด้านปัจจัยตัวป้อน (Input) พบว่ามีความเหมาะสมในระดับน้อย ทั้งในปัจจัยตัวป้อนด้านอาจารย์ นิสิต และ ส่วนประกอบอื่นๆ ที่สนับสนุนการเรียนการสอน

๓. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า มีความเหมาะสมในระดับน้อย ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล

๔. ด้านผลผลิต (Output) พบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ทั้งในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และคุณลักษณะทั่วไปของผลผลิต

๕. ด้านผลกระทบ (Impact) พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก ทั้งด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คุณลักษณะทั่วไป และความพึงพอใจที่ได้ใช้งานนิสิตปฏิบัติศาสนกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น