ชื่อรายงานการวิจัย: การสอนวิชาพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ผู้วิจัย: ดร.ประมูล สารพันธ์ ผศ.ดร.อินถา ศิริวรรณ
ส่วนงาน: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การสอนวิชาพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาก่อนและหลังการสอนวิชาพระพุทธศาสนา และเพื่อศึกษาระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ก่อนและหลังการสอนวิชาพระพุทธศาสนา
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนคลองบางพรหม เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำนวน ๗๑ คน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๒๔ คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ ๑๒ คน ส่วนประชากรสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนโพธิสารพิทยากร เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร จำนวน ๓๖๕ คน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๔๐ คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ ๒๐ คน
เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบวัดระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ซึ่งผู้วิจัยดัดแปลงจากเครื่องมือการวิจัยของ เรวดี ชารีรัตน์
ผลการศึกษาวิจัย มีดังต่อไปนี้
๑. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ก่อนการสอนมีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่ ๔ คือ ขั้นใช้หลักการทำตามหน้าที่ทางสังคม และหลังการสอนมีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นที่ ๕ คือขั้นใช้หลักการทำตามคำมั่นสัญญาและข้อตกลงทางสังคม ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
๒. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังการสอนมีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงกว่าก่อนการสอน และนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการสอนมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการสอน
๓. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ก่อนการสอนมีเจตคติเชิงจริยธรรมในระดับปานกลางในขณะที่หลังการสอนนักเรียนกลุ่มควบคุมมีเจตคติเชิงจริยธรรมในระดับปานกลาง แต่นักเรียนกลุ่มทดลองมีเจตคติเชิงจริยธรรมในระดับดี
๔. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ก่อนและหลังการสอนมีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่ ๕ คือขั้นใช้หลักการทำตามคำมั่นสัญญาและข้อตกลงของสังคม ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
๕. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองหลังการสอนมีค่าเฉลี่ยของระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ และนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการสอนมีค่าเฉลี่ยของระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมหลังสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .๐๑
๖. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีเจตคติเชิงจริยธรรมในระดับดีทั้งก่อนและหลังการสอน โดยที่ค่าเฉลี่ยหลังการสอนสูงกว่าก่อนการสอนทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง และนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการสอนมีค่าเฉลี่ยของเจตคติเชิงจริยธรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมหลังการสอน
ผู้วิจัย: ดร.ประมูล สารพันธ์ ผศ.ดร.อินถา ศิริวรรณ
ส่วนงาน: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การสอนวิชาพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาก่อนและหลังการสอนวิชาพระพุทธศาสนา และเพื่อศึกษาระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ก่อนและหลังการสอนวิชาพระพุทธศาสนา
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนคลองบางพรหม เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำนวน ๗๑ คน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๒๔ คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ ๑๒ คน ส่วนประชากรสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนโพธิสารพิทยากร เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร จำนวน ๓๖๕ คน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๔๐ คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ ๒๐ คน
เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบวัดระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ซึ่งผู้วิจัยดัดแปลงจากเครื่องมือการวิจัยของ เรวดี ชารีรัตน์
ผลการศึกษาวิจัย มีดังต่อไปนี้
๑. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ก่อนการสอนมีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่ ๔ คือ ขั้นใช้หลักการทำตามหน้าที่ทางสังคม และหลังการสอนมีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นที่ ๕ คือขั้นใช้หลักการทำตามคำมั่นสัญญาและข้อตกลงทางสังคม ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
๒. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังการสอนมีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงกว่าก่อนการสอน และนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการสอนมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการสอน
๓. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ก่อนการสอนมีเจตคติเชิงจริยธรรมในระดับปานกลางในขณะที่หลังการสอนนักเรียนกลุ่มควบคุมมีเจตคติเชิงจริยธรรมในระดับปานกลาง แต่นักเรียนกลุ่มทดลองมีเจตคติเชิงจริยธรรมในระดับดี
๔. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ก่อนและหลังการสอนมีระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่ ๕ คือขั้นใช้หลักการทำตามคำมั่นสัญญาและข้อตกลงของสังคม ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
๕. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองหลังการสอนมีค่าเฉลี่ยของระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ และนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการสอนมีค่าเฉลี่ยของระดับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมหลังสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .๐๑
๖. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีเจตคติเชิงจริยธรรมในระดับดีทั้งก่อนและหลังการสอน โดยที่ค่าเฉลี่ยหลังการสอนสูงกว่าก่อนการสอนทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง และนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการสอนมีค่าเฉลี่ยของเจตคติเชิงจริยธรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมหลังการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น