ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบโรงเรียนวิถีพุทธ: ศึกษากรณี โรงเรียนวิถีพุทธ ๑๐ เขตพื้นที่ศึกษา
คณะผู้วิจัย: ดร. สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย พระมหาสหัส ฐิตสาโร
ดร.อินถา ศิริวรรณ นายบุญเลิศ จีรภัทร์
ส่วนงาน: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปีงบประมาณ: ๒๕๔๗
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยการศึกษาวิเคราะห์โรงเรียนวิถีพุทธ ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนวิธีพุทธ ๑๐ เขตพื้นที่การศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลและแนวทางในการจัดทำข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลทั้งข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน อาจารย์ และผู้บริหาร การจัดการศึกษาของสถานศึกษาทั้งปัจจัยแปรผัน ได้แก่ การเตรียมปัจจัยภายนอกเพื่อการเรียนรู้ ความเป็นกัลยาณมิตรเพื่อการเรียนรู้ หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนของผู้สอน กิจกรรมในชั้นเรียนและกิจกรรมในสถานศึกษา และการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ และปัจจัยตาม คือผู้เรียนตามวิธีพุทธ จัดเก็บข้อมูลจากนักเรียน ๕๒๓ คน อาจารย์และผู้บริหาร ๔๑ คน โดยใช้แบบสอบถาม
ผู้วิจัยพบว่า ผู้เรียนได้รับการจัดการศึกษาในระดับดีมาก และอาจารย์และผู้บริหาร มีการจัดการศึกษาในระดับมากแก่ผู้เรียนในโรงเรียนวิถีพุทธ ทั้งในการเตรียมปัจจัยภายนอก ความเป็นกัลยาณมิตร หลักสูตรการบริหารการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนรู้ในและนอกชั้นเรียน การวัดและประเมินผล และผู้เรียนตามวิถีพุทธ ซึ่งเป็นปัจจัยตาม เมื่อแยกพิจารณาตามเพศทั้งผู้เรียนและอาจารย์ผู้บริหารไม่มีความแตกต่างกันในด้านรูปแบบ แยกตามภูมิลำเนา ระดับการศึกษาและตำแหน่งอาจารย์ของผู้บริหารและอาจารย์ มีการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อแยกตามอายุ ระดับชั้นที่ศึกษา อายุ ที่ตั้งของโรงเรียน และโรงเรียนที่แตกต่างกันผู้เรียนจะได้รับการจัดการศึกษาที่แตกต่างกัน และผู้บริหาร และอาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตั้งของโรงเรียนต่างกัน มีการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนต่างกัน โดยภาคกลางมีการจัดการศึกษาตามวิถีพุทธในระดับดีมากกว่าพื้นที่อื่น
การจัดการศึกษาตามวิถีพุทธให้แก่สถานศึกษาในแต่ละโรงเรียน มีรูปแบบที่เป็นไปในแนวเดียวกัน มาตรฐานเดียวกันและเสมอภาคกัน จะต้องจัดการโดยทุกฝ่ายทั้งชุมชน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ผู้บริหาร นักเรียนและผู้บริหารในพื้นที่ และการจัดสรรทรัพยากรให้ทั่วถึงเกิดประโยชน์แก่ทั้งโรงเรียน และผู้เรียนต้องได้รับความร่วมมือในการเข้าร่วมการจัดสรร และการกำหนดแนวทางการบริหาร มาตรฐานศึกษาและการจัดการเรียนรู้โดยผู้บริหารการศึกษาระดับชาติ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นฐานและระดับโรงเรียนร่วมกัน เพื่อให้เกิดโรงเรียนวิถีพุทธตามความต้องการของสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น