ประวัติผู้ทรงคุณวุฒิ
๑. ชื่อ - สกุล ภาษาไทย : พระสุธีวรญาณ
(ณรงค์ จิตฺตโสภโณ เชิดสูงเนิน)
ชื่อภาษาอังกฤษ : Phra Suthivorayan
(Narong cihasobhano )
๒. รหัสประจำตัวนักวิจัยแห่งชาติ
๓.ตำแหน่งปัจจุบัน
- รองอธิการบดีวิทยาเขตนครราชสีมา
- ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาพฤษมาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ
๔.หน่วยงานและที่อยู่ที่ติดต่อได้
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ห้อง ๑๐๑ อาคารมหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทร. ๐-๒๖๒๓-๖๓๒๔ ภายใน ๑๐๗, ๑๒๖
โทรสาร ๐-๒๖๒๓-๕๖๐๘ E-mail : rectoroff@mcu.ac.th
๕. ประวัติการศึกษา
- เปรียญธรรม ๘ ประโยค
- พุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.)
- M.A. in History (Mysore, India)
- Ph.D. in Buddhist Studies. Delhi, India.
๖. สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ (แตกต่างจากวุฒิการศึกษา)
เช่น Tipitaka Studies, Buddhist Meditation
๗. ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยระบุสถานภาพในการทำการวิจัยว่าเป็นผู้อำนวยการแผนงานวิจัย หัวหน้าโครงการวิจัย หรือผู้ร่วมวิจัยในแต่ละข้อเสนอการวิจัย เป็นต้น
๗.๑ ผู้อำนวยการวิจัย : การวิจัยการศึกษาตามแนวพุทธธรรมตามแนวคิดของพระธรรมปิฎก
๗.๒ หัวหน้าโครงการวิจัย : การศึกษาสำรวจข้อมูลด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ในเขตการคณะสงฆ์ ภาค ๑๑
๗.๓ งานวิจัยที่ทำเสร็จแล้ว (ร่วมดำเนินการ) เช่น :
๑) บทบาทและหน้าที่ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๒) ประสิทธิภาพในการผลิตพระพุทธศาสตรบัณฑิตของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๗.๔ งานวิจัยที่กำลังทำ : การศึกษาสำรวจข้อมูลด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ในเขตการคณะสงฆ์ ภาค ๑๑
๘. ประสบการณ์บริหารวิชาการ
- เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร.
- เป็นรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มจร.
- เป็นกรรมการบริหารงานบุคคล มจร.
- เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มจร.
- เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย
- เป็นประธานกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
๙. งานการถ่ายทอดทางวิชาการ
- เป็นอาจารย์บรรยายหลักสูตรปริญญาโท-เอก
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยบูรพา
- รองประธานบรรณาธิการแปลพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
- ครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม
- อาจารย์บรรยายวิชาพระไตรปิฎกศึกษา วิชาธรรมภาคภาษาอังกฤษ
- คณะทำงานจัดทำสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๔
- เป็นประธานกรรมการฝ่ายวิชาการงานประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธแห่งโลก ครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๔๓) ณ ประเทศไทย จัดโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับคณะสงฆ์นิกายเนนบุตซูชุ แห่งประเทศญี่ปุ่น
- เป็นประธานกรรมการฝ่ายวิชาการงานประชุมสภาผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพโลก ครั้งที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๔๕) ณ ประเทศไทย จัดโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับที่ประชุมสุดยอดผู้นำศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพโลก นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา
๑๐. ตำแหน่งทางวิชาการ
- รองศาสตราจารย์
วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553
A Students’ Satisfaction with Leaning and Teaching Organization of the Certificate Program for the Teacher Profession at the Mahachulalongkornrajavidy
Research Title: A Students’ Satisfaction with Leaning and Teaching Organization of the Certificate Program for the Teacher Profession at the Mahachulalongkornrajavid yalaya University
Researcher: Mrs. Chaweewan Suwannapha Miss.Onanong Woowong Mr.Kriengsak Fongkam Mr.Thananukool Sricompa
Department: Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus
Fiscal Year: 2547 / 2004
Research Scholarship Sponsor: Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
The aim of this research was a student’s satisfaction with learning and teaching organization of the certificate program in teachers’ profession of Mahachulalonngkornrajavidyalaya University. The compare five students were satisfaction with learning and teaching organization of the certificate program of teacher’s profession of the Mahachulalong kornrajavidyalaya University in 3 sections: teachings technique instructional media and evaluation.
The populations and groups of exampling were used in this research. The students were studying in these program years of B.E.2547. It was monk of 346 and Lay people of 696 totals the populations of 1.042.The group of an exampling were used for this research proportion stratified groups of exampling of monk for 128.lay people for 257. Total groups of exampling were 385.
Tree types of questionnaires were used in this research. The first question was in general items. The second question satisfaction with learning and teaching organization of the certificate program in teachers of Mahachulalongkornrajavidyalaya University were in 3 sections: teaching technique instructional media and evaluation. The third sections were general encourage. The analysis of data was percentage (%) mean (x) and standard deviation (S.D) comparative of t-test.
The results of this research were as follows;
1. Students were satisfaction with learning and teaching organization of the certificate program in teacher’s profession of monk and lay people with satisfaction with learning and teaching in the moderate level. Teaching technique has satisfaction with leaning and teaching in high level, instruction media have satisfaction with learning and teaching in moderate level.
2. Evaluations have satisfaction with learning and teaching in high level. Students were satisfaction with learning and teaching organization of the certificate program in teacher profession of Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Monk and lay people were satisfaction with learning and teaching in 3 sections: teachings technique, Instruction media and evaluation have satisfaction in different.
ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั
ชื่อรายงานการวิจัย: ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผู้วิจัย: นางฉวีวรรณ สุวรณาภา นางสาวอรอนงค์ วูวงศ์ นายเกรียงศักดิ์ ฟองคำ นายธนานุกูล ศรีคำภา
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ เปรียบเทียบความพึงพอใจของนิสิตบรรพชิตกับฆราวาสต่อการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใน 3 ด้าน ได้แก่ด้านเทคนิคและวิธีสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดผลประเมินผล
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มเชิงช่วงชั้นอย่างมีสัดส่วน ได้กลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นบรรพชิต จำนวน 128 รูป ฆราวาส 257 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 385 รูป/คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม
วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบ ค่า t
ผลการวิจัย
1. ความพึงพอใจ ของนิสิต บรรพชิต และฆราวาส ต่อการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเทคนิคและวิธีการสอนและการวัดผลและประเมินผล นิสิตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ ด้านสื่อการเรียนการสอน นิสิตมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
2. ผลการเปรียบเทียบ มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นิสิตที่เป็นบรรพชิตและฆราวาส มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเทคนิคและวิธีการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผล มีความพึงพอใจแตกต่างกัน
A Study of the Forms of Buddhist Ethics Development in Higher Secondary Schools in Surin and Buriram Provinces
Research Title: A Study of the Forms of Buddhist Ethics Development in Higher Secondary Schools in Surin and Buriram Provinces
Researchers: Mr. Sue Sajjananda Mr. Taweesak Tongthipya Mr. Thanoo Srithong Mr. Makthai Lamaivan
Department: Mahachulalongkornra javidyalaya University, Surin Campua
Fiscal Year: 2547 / 2004
Research Scholarship Sponsor: Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
The purpose of this research was to study the forms of Buddhist Ethics development in higher secondary schools in Surin and Buriram provinces and to present the ethical development form of the threefold training in Buddhism. The research methodology was an interview on the groups of students, teachers and administrators, consisting of 270 persons. The research instruments were the participation observance form and study of the Buddhist academic documents.
The results of the research were as follows:
1) there obvious forms of Buddhist ethics development in higher secondary schools in Surin and Buriram provinces were 1) in the aspect of the learning contents was an integration of the Threefod training in every subject
2) in the aspect of teaching method were used such as the positive stimulation, group learning, and problem solving
3) in the aspect of teachers’ characteristics, the life style of teachers were in good model of the Buddhist such as being in the holy abiding ( Brahmavihara) and qualities of a good friend ( Kalyanamittadhamma), in the form of the Buddhist ethical development activities were
1) Buddhaputta camp
2) Week end chanting
3) flagstaff Dhamma Cultivation
4) Buddhist meditation
5) Temple going on the important days of Buddhism
6) Dhamma Studies: in the form of the physical environment. There were things to enhance the ethical development such as the Buddha image, the ethical cultivation room, the safety and cleaned area.
2) There was obvious form of the Threefold training, comprising: training in morality as found in the physical and verbal behavior with the help of rules and regulations; training in concentration as found in the mental quality, competence, and efficiency: training in wisdom as found in the ability to understand things as they were.
The recommendation on this research was that the Buddhist ethics development should be cooperated by all levels of the community leaders both in theory and practice.
การศึกษารูปแบบการพัฒนาจริยธรรมแนวพุทธในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์
ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษารูปแบบการพัฒนาจริยธรรมแนวพุทธในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์
ผู้วิจัย: นายเสือ สัชชานนท์ นายทวีศักดิ์ ทองทิพย์ นายธนู ศรีทอง นายเมฆไท ละม้ายวรรณ์
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาจริยธรรมแนวพุทธ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ และนำเสนอรูปแบบการพัฒนา จริยธรรมตามทฤษฎีไตรสิกขา ใช้วิธีวิจัยโดยการสัมภาษณ์กลุ่มนักเรียน กลุ่มครู และกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 270 คน การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมในสถานที่เป็นจริง และการศึกษาเอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการพัฒนาจริยธรรมแนวพุทธ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ ทั้งในด้านการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรม และลักษณะทางกายภาพ พบว่า มีรูปแบบการพัฒนาจริยธรรมแนวพุทธในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ ชัดเจนมีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมคือ รูปแบบของการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย
1) ด้านเนื้อหา มีการบูรณาการพุทธธรรมในสาระการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา
2) ด้านการสอน ใช้วิธีการเสริมแรงทางบวก จัดกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่ม ใช้หลักธรรมเป็นฐานในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาโดยเชื่อมโยงกับชีวิตจริง
3) บุคลิกภาพของครู มีวิถีชีวิตเป็นแบบอย่างที่ดี ตั้งอยู่ในพรหมวิหารธรรม แต่งกายเหมาะสม ยิ้มแย้ม เป็นกัลยาณมิตรต่อครูและนักเรียน ให้เกียรติกัน รูปแบบของกิจกรรมเชิงพุทธที่ส่งเสริมการพัฒนาจริยธรรมได้แก่
1) กิจกรรมการเข้าค่ายพุทธบุตร
2) กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระในวันสุดสัปดาห์ การฝึกสมาธิประจำสัปดาห์
3) กิจกรรมอบรมหน้าเสาธง
4) กิจกรรมนั่งสมาธิ
5) กิจกรรมไปวัดในวันสำคัญทางพุทธศาสนา
6) การเรียนธรรมศึกษา รูปแบบทางกายภาพ รูปแบบทางกายภาพที่เอื้อต่อการพัฒนาจริยธรรม พบว่า มีการประดิษฐานพระพุทธรูปในที่เหมาะสม มีห้องจริยธรรม บริเวณโรงเรียนสะอาด ปลอดภัย ร่มรื่น ปลอดสิ่งเสพติด มีสวนหย่อม ถอดรองเท้าเป็นระเบียบเรียบร้อย มีห้องสุขาเพียงพอและพร้อมใช้
2. รูปแบบการพัฒนาจริยธรรมตามหลักไตรสิกขา พบว่า มีรูปแบบการพัฒนาที่ชัดเจนทั้งในด้านลักษณะทางกายภาพ พฤติกรรม การพัฒนาจิตใจ และปัญญา คือ รูปแบบของการพัฒนาจริยธรรมในขั้นศีล พบว่า เป็นการพัฒนาพฤติกรรมทางกาย และวาจา โดยใช้เครื่องมือในการฝึก คือ วินัย กฎหมาย กฎ กติกา ระเบียบ การพัฒนาจริยธรรมในขั้นศีลเป็นการสร้างฐานชีวิตให้แข็งแกร่ง คนมีศีลเป็นคนไม่มีโทษ เพราะประพฤติสุจริตทางกาย การฝึกการสื่อสารที่ดี
การประกอบอาชีพที่ส่งผลให้การดำรงชีวิตมีความสุข การพัฒนาจริยธรรมในขั้นสมาธิ พบว่า สมาธิเป็นเครื่องมือในการทำจิตใจให้หนักแน่น เป็นการรวมกระแสจิตเป็นหนึ่งเดียว ทำให้ใจแน่วแน่ในสิ่งเดียว มีคุณภาพและสมรรถภาพทางจิต ทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง สามารถควบคุมตนเองได้ดี ทำให้จิตนุ่มนวลควรแก่การงาน และจิตมีพลังมีคุณสมบัติความพร้อมในการปฏิบัติงาน รูปแบบของพัฒนาจริยธรรมในขั้นปัญญา เป็นการพัฒนาฝึกฝนศึกษาให้เข้าใจ มีความรู้ เกิดความเข้าใจในสรรพสิ่งตามความเป็นจริง เข้าใจตามความเกิดขึ้นของสิ่งนั้น พิจารณาสภาพปัญหาตามเหตุ ตามปัจจัยที่ส่งผลต่อกัน ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น ใช้หลักความจริงแก้ปัญหาตามที่เกิดขึ้นจริง มีจิตใจเป็นอิสระจากสิ่งที่สัมพันธ์กับชีวิต ดำรงตนอยู่อย่างรู้เท่าทัน ใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต เข้าใจจุดมุ่งหมายของชีวิต รู้จักวิธีที่จะนำชีวิตไปในทางที่ดี รู้จักสร้างระเบียบวินัยให้กับชีวิตและอยู่อย่างปลอดภัยไร้เวร
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ รูปแบบการพัฒนาจริยธรรมแนวพุทธในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายควรได้รับความร่วมมือจากผู้นำ จากชุมชน เนื่องด้วยจริยธรรมเป็นสภาพแวดล้อมที่ใหญ่ของสังคม ผู้นำจึงควรเป็นผู้ได้รับการพัฒนาด้านจริยธรรมที่ดีงาม เพื่อเป็นตัวอย่างและชุมชนที่ผู้เรียนเกี่ยวข้องควรได้รับการพัฒนาจริยธรรมที่ดีงามด้วย จึงทำให้จริยธรรมที่ผู้เรียนได้รับการพัฒนาแล้วยังมีความคงทนต่อไป ความถดถอยทางจริยธรรมของผู้เรียนส่วนหนึ่ง เกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคมหรือชุมชนที่ผู้เรียนอาศัยอยู่ไม่เกื้อหนุนต่อการพัฒนาจริยธรรม
A Study of Guidelines for Solving the Moral and Ethical Problems of Students of Higher Educational Institutions in Surin Province
Research Title: A Study of Guidelines for Solving the Moral and Ethical Problems of Students of Higher Educational Institutions in Surin Province
Researchers: Mr. Prasong Thongpra Mr. Taweesak Tongtipya Mr. Banchong Sodadee Mr. Thanoo Srithong
Department: Mahachulalongkorn rajavidyalaya University, Surin Campus
Fiscal year: 2547 / 2004
Research Scholarship Sponsor: Mahachulalongkorn rajavidyalaya University
ABSTRACT
This research aimed at studying the problem, the causes and the guidelines for solving the moral and ethical lacking problems of undergraduate students in Surin Province. Data wear collected by using questionnaires. The sample of the study consists of 433 people including teacher, educational personel from 8 tertiary educational institutes and parents in Surin. The data were analyzed by using descriptive analysis statistic and calculated by using Microsoft Excel program and percentage. The results of the study are as follows :
1. In investigating the condition of morality lacking problems in undergraduate students used 20 moral principles as standard revealed that students neglected all principles. The problems concluded from the most serious issues to the least comprise being extravagant (81.30%), participating in the night life at entertaining palaces (81.06%), addicting to drugs (78.75%), wastefully wandering around (77.14 %), committing adultery(77.14%), lacking sense of generosity (77.00 %), not respecting social principles (75.52 %), being unreasonable (75.00 %), having no perseverance (74.83 %), being fearless of sin (73.90 %), being disrespectful to older people (73.44 %), being irresponsible (73.28 %), being disloyal (72.98 %), lacking of enthusiasm in learning and self-improving (70.67 %), being impatient (70.67 %), annoying others (70.44 %), being disunited (69.75 %) accompanying friends who misbehave or assemble in unlawful events (69.75 %), participate in gambling (67.67 %), lacking of sense of obligation (67.20%) and other principles. In conclusion, the moral principles ignored by students respectively consist of gossiping and telling lies, being credulous and emotionally uncertain, being careless in surviving, lacking of love and generosity for others, not knowing self-estimation and proper consuming estimation and physically hurting others.
2. It was found that students’ lacking of moral principles caused by many reasons which can be divided into two groups; the internal causes and the external causes. The internal causes refer to the problems initiated by students themselves which comprise the lack of moral principle, having no moral consciousness, misbehaving and sticking themselves too tightly in personal pleasure and physical convenience, being unreasonable, having no moral principles to conducting their own lives, having wrong values, being too rebellious and disobedient, lacking of sense of responsibility, being too much curious in things which leads to violence, not knowing social regulations and principles, being selfish and boastful, not realizing of negative results from wastefully wandering at night, being lazy, lacking of life planning, being uninterested in giving, not realizing of the affect of their own laziness, being weak and inconsiderate, lacking of knowledge about Karma, not respecting adults, not realizing of negative results caused by gambling, not seeing the advantages of diligence. The external causes refer to the outside factors that have a strong impact upon the students, These outside causes comprise students’ lacking of right or proper training, having no good models, lacking of family warmth, wrongly imitating friends, economical, social and cultural changes and he force of economical crisis, the influence of mass media, unpleasant society, the environments full of seduction, the weakness of authorities who hole the social principles, the adults misbehavior, student’s having no opportunity to engrave morality, the inferiority in the workplaces and society the last factor is unpleasant educational institutes.
3. The solutions for morality lacking of students can be divided into two ways; the solutions made by students and solutions made by related people or institutes. The solutions to the problems caused by students themselves can be done by raising students’ moral consciousness and their interest in learning and applying moral principles to conduct their own lives. Moreover, students must be careful in living their own lives, ready to listen to reasonable matters, improving themselves and behaving properly as a student. In solving the moral problems of students by related people and institutes such as families, teachers, educational personnel, monks, and social authorities, these people must be a good model for students. Additionally, they should provide them love and warmth, good guidance and assistance in solving various problems. Schools and other educational institutes must improve their curriculum which includes more moral contents. Moreover, they must invite monks to educate their students on moral issues. Teachers must have good knowledge of morality and integrate it to the content of the main subjects. They should also evaluate students’ moral quality as well. Schools might have field trip programs and use monasteries as the center of learning. Schools and monasteries should continuously cooperate in holding morality training program. Mass media must report news or moral information proper to young people. Finally, the government must consider the issue of human resources improvement very important and seriously support moral consciousness by putting moral issues in the main national policy. Sufficient budget should be provided for many related institutes in order to support activities concerned with moral principles and human resources development.
การศึกษาแนวทางแก้ปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในเขตจังหวัดสุรินทร์
ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษาแนวทางแก้ปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาระดับ อุดมศึกษา ในเขตจังหวัดสุรินทร์
ผู้วิจัย: นายประสงค์ ทองประ นายทวีศักดิ์ ทองทิพย์ นายบรรจง โสดาดี นายธนู ศรีทอง
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา สาเหตุของการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา และแนวทางแก้ปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้แบบสอบถามเก็บ รวบรวมข้อมูลวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 433 คน ซึ่งเป็นครู-อาจารย์ บุคลากรทางศึกษา และผู้ปกครอง ที่สังกัดสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 8 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Microsoft Excel และใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. สภาพปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา จากข้อคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 20 ข้อ พบว่า นักศึกษาขาดคุณธรรมจริยธรรมทุกข้อ เรียงอันดับความสำคัญของสภาพปัญหาจากมากไปหาน้อยโดยใช้ค่าร้อยละ ดังนี้ ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ร้อยละ 81.30 เที่ยวกลางคืนหรือสถานเริงรมย์ ร้อยละ 81.06 การเสพสิ่งเสพติดให้โทษ ร้อยละ 78.75 เที่ยวเตร็ดเตร่ ร้อยละ 77.14 ประพฤติผิดทางกามารมณ์ในทำนองชู้สาว ร้อยละ 77.14 ขาดความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ร้อยละ 77.00 ไม่เคารพ กฎระเบียบวินัยของสังคม ร้อยละ 75.52 ขาดเหตุผล ร้อยละ 75.00 ขาดความขยันหมั่นเพียร ร้อยละ 74.83 ขาดความละอายต่อความชั่วไม่เกรงกลัวต่อบาป ร้อยละ 73.90 ขาดความเคารพนับถือผู้ใหญ่ ร้อยละ 73.44 ขาดความรับผิดชอบ ร้อยละ 73.28 ขาดความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 72.98 ขาดการใฝ่รู้ใฝ่เรียนเพื่อพัฒนาตนเอง ร้อยละ 70.67 ขาดความอดทน ร้อยละ 70.67 ก่อความรำคาญรบกวนผู้อื่น ร้อยละ 70.44 ขาดความสามัคคี ร้อยละ 69.75 มั่วสุมคบเพื่อนชั่ว ร้อยละ 69.05 เล่นการพนัน ร้อยละ 67.67 ขาดความกตัญญูรู้คุณ ร้อยละ 67.20 และขาดคุณธรรมจริยธรรมข้ออื่น ๆ อีก สรุปเรียงอันดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ดังนี้ พูดนินทาว่าร้ายผู้อื่น พูดโกหก มีจิตใจไม่หนักแน่น จิตใจรวนเร หูเบา ประมาทในการดำเนินชีวิต ขาดความรักความเมตตาต่อกัน ไม่รู้จักประมาณตนเอง ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ทำร้ายร่างกายผู้อื่น
2. สาเหตุของการขาดคุณธรรมจริยธรรม พบว่า เกิดจากสาเหตุหลายประการ สรุปได้เป็น 2 สาเหตุ คือ สาเหตุภายในและสาเหตุภายนอก สาเหตุภายใน คือ สาเหตุจากตัวนักศึกษา ได้แก่ ขาดความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ขาดจิตสำนึกที่ดี มีความเห็นที่ผิด ชอบสนุกชอบสบาย เห็นแก่ได้ ขาดสติพิจารณาเหตุผล ขาดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต มีค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง มีจิตใจหยาบกระด้าง ชอบเที่ยว ไม่ยอมรับฟังคำแนะนำ ขาดความตระหนักในหน้าที่ อยากรู้อยากเห็นอยากทดลอง นิยมความรุนแรง ขาดความรู้เรื่องกฎระเบียบวินัยของสังคม มีนิสัยมักง่าย เห็นแก่ตัว ชอบอวดความยิ่งใหญ่ ไม่เห็นโทษของการเที่ยวกลางคืน มีนิสัยเกียจคร้าน ไม่เห็นโทษของการเที่ยวเตร็ดเตร่ ขาดการวางแผนชีวิตที่ดี ไม่เห็นความสำคัญของการให้ ถือตนเป็นใหญ่ ไม่เห็นโทษของความเกียจคร้าน สภาพจิตใจอ่อนแอ ขาดความรู้เรื่องกรรม ขาดความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เคารพนับถือผู้ใหญ่ ไม่เห็นโทษของการพนัน ไม่เห็นคุณของความขยัน สาเหตุภายนอก คือ สาเหตุจากภายนอกตัวนักศึกษา ได้แก่ ขาดการอบรมแนะนำที่ถูกต้อง ขาดแบบอย่างที่ดี ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว กระทำตามเพื่อน การเปลี่ยนแปลงทางระบบเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภาวะเศรษฐกิจบีบคั้น เลียนแบบพฤติกรรมทางสื่อมวลชนและสังคมที่ไม่ดี มีสถานเริงรมย์เปิดบริการมาก สภาพแวดล้อมยั่วยุและชักนำ เพื่อให้สังคมและเพื่อนยอมรับ ผู้ถือกฎ ระเบียบวินัยทางสังคมปฏิบัติหย่อนยาน ผู้ใหญ่ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ขาดการปลูกฝังในสิ่งที่ดีงาม ความด้อยในฐานะอาชีพและสังคม สถานศึกษาไม่เอื้อต่อการศึกษาเล่าเรียน
3. แนวทางแก้ปัญหาการขาดคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา พบว่า แนวทางแก้ปัญหาสรุปได้เป็น 2 แนวทาง คือ การแก้ปัญหาโดยตัวนักศึกษาเอง และการแก้ปัญหาโดยบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก การแก้ปัญหาโดยตัวนักศึกษาเอง ได้แก่ นักศึกษาจะต้องที่จิตสำนึกที่ดี สนใจใฝ่เรียนรู้และน้อมนำหลักคุณธรรมจริยธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต จะต้องไม่ประมาท พร้อมที่จะรับฟังเหตุผล ปรับตัวให้เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษา และปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ส่วนการแก้ปัญหาโดยบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก ได้แก่ ครอบครัว ครู- อาจารย์ บุคลกรทางการศึกษา พระสงฆ์ และผู้ใหญ่ในสังคมจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ให้ความรักความอบอุ่น ให้คำปรึกษาแนะนำในสิ่งที่ถูกต้อง ให้การช่วยเหลือแก้ปัญหาต่าง ๆ โรงเรียนและสถานศึกษาจะต้องปรับปรุงหลักสูตรโดยบรรจุเนื้อหาวิชาด้านคุณธรรมจริยธรรมให้มากขึ้น นิมนต์พระภิกษุมาช่วยสอนช่วยอบรมให้ความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ด้านการบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมเข้ากับเนื้อหาวิชาหลัก และจะต้องนำพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลรายวิชาด้วย โรงเรียนอาจจัดเรียนนอกสถานที่โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โรงเรียนและวัดควรร่วมกันจัดโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง สื่อมวลชนต้องนำเสนอข้อมูลหรือเผยแพร่ข่าวสารด้านคุณธรรมจริยธรรมให้เหมาะสมกับเยาวชน สุดท้ายรัฐจะต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมอย่างจริงจัง โดยกำหนดเป็นนโยบายหลักของชาติและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนแก่หน่วยงานต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
A Study of Problems and Solving Methods of the Lack of Buddhist Monks in the Thai-Cambodian Border of Surin and Buriram Province
Research Title: A Study of Problems and Solving Methods of the Lack of Buddhist Monks in the Thai-Cambodian Border of Surin and Buriram Province
Researchers: Mr. Taweesak Tongthipya Mr. Prasong Thongpra Mr. Thanoo Srithong Mr. Banchong Sodadee
Department: Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Surin Campus
Fiscal Year: 2547 / 2004
Research Scholarship Sponsor: Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
The purpose of this research was to study a problems, causes of the problems, and solving methods on the lack of Buddhist monks in Thai-Cambodian border of Surin and Buriram provinces.
The research methodology was used to study information from the concern with documents and researches. The data collecting was based on observance and interview of the sample in the target area. Descriptive analysis was used in the research. Instruments in using of this research were observing–note and interview from local people. The results of the research were as follows:
1. There were two problems regarding the lack of Buddhist monks in Thai-Cambodian border of Surin and Buriram provinces, namely, the lack of in terms of quantity and quality.
2. There were two main causes regarding the lack of Buddhist monks in Thai-Cambodian border of Surin and Buriram province, namely, the outer cause comprising geographical condition, community condition, and Sangha administration condition, and the inner cause comprising temple condition and Buddhist monk condition.
3. The path leading of problem was lacking of Buddhist monks in Thai-Cambodia border of Surin and Buriram province. In views of the ecclesiastical officers, the concerned civil servant head, the community head, and the area community were found that to the outer problem, the government official and the community should have cooperation to solve the problem of geographical condition. Sangha, community and government officials should solve the problem of community condition. And the Sangha organization in solving of the problem of Sangha administration, inner problem, Sangha organization, government officials, and community should have cooperation to solve the problem of temple condition. Then the Sangha organization should solve the problem of Buddhist monks, the solution of both outer and inner problem should be in terms of policy, strategy, and projects. In short and long running solution should go hand by hand.
The recommendation on this research was that for the solution of the lack of Buddhist monks in Thai-Cambodia border of Surin and Buriram provinces. The government section should know the problem, the causes of the problem, and the obvious methods of solution in the forms of policy, strategy, and projects dealing through the governmental organization in the particular area; the Sangha diction through the ecclesiastical officers in the particular area; the community itself through the local academic and the donors of the temple. The lay Buddhist should coordinate and exchange view with the Buddhist monks and implant the right view towards temple and local Buddhist monk and the donors of the temple. The lay bursar and the temple committee should have transparency in financial dealing. The Buddhist monk should realize the value of the temple and Buddhist monks in terms of activities and supports.
การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ในเขตชายแดน ไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์
ชื่อรายงานการวิจัย : การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์
ในเขตชายแดน ไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์
ผู้วิจัย : นายทวีศักดิ์ ทองทิพย์ นายประสงค์ ทองประ นายธนู ศรีทอง นายบรรจง โสดาดี
ส่วนงาน : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
ปีงบประมาณ : 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ สาเหตุของปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ และแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ในทัศนะของพระสังฆาธิการ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ในเขตชายแดน ไทย-กัมพูชา ในเขตจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ วิธีดำเนินการวิจัย โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบบันทึกการสังเกต และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ที่ค้นพบมี 2 ด้าน คือ สภาพปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ด้านปริมาณและสภาพปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ด้านคุณภาพ
2. สาเหตุของปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ และบุรีรัมย์ ที่ค้นพบมี 2 สาเหตุหลัก คือ สาเหตุภายนอก ได้แก่ สภาพทั่วไปด้านชุมชนและด้านการบริหารของคณะสงฆ์ สาเหตุภายใน ได้แก่ ด้านลักษณะของวัดและด้านพระสงฆ์
3. แนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ ในทัศนะของพระสังฆาธิการ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ พบว่า การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ที่เกิดจากสาเหตุภายนอกได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวกับสภาพทั่วไปด้านชุมชน คณะสงฆ์ ประชาชนและรัฐต้องเข้าไปร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับด้านการบริหารคณะสงฆ์ องค์กรสงฆ์ต้องเข้าไปดำเนินการแก้ไข การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ที่เกิดจากสาเหตุภายใน ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวกับลักษณะของวัด คณะสงฆ์ หน่วยงานของรัฐและชุมชน ต้องเข้าไปร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับด้านพระสงฆ์ องค์กรสงฆ์ต้องเข้าไปดำเนินการแก้ไข การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ทั้งที่จากสาเหตุภายนอกและสาเหตุภายในควรกำหนดเป็นนโยบาย ยุทธศาสตร์และโครงการ การแก้ไขต้องดำเนินการไปพร้อม ๆ กันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ คือ รัฐรับรู้สภาพปัญหา การขาดแคลนพระสงฆ์ พร้อมทั้งศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม แล้ว กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงการ แก้ไขปัญหา โดยดำเนินการผ่านองค์การของรัฐที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นนั้นๆ คณะสงฆ์โดยมหาเถรสมาคมรับรู้สภาพปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ ร่วมมือกับรัฐและประชาชน ศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ให้ชัดเจน เป็นระบบ เป็นรูปธรรม แล้วกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงการแก้ไขปัญหา โดยดำเนินการผ่านไปตามลำดับชั้น สายงาน การปกครองของคณะสงฆ์ ชุมชนตระหนักถึงปัญหา สาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์ ให้ความร่วมมือกับรัฐและคณะสงฆ์ ในการแก้ไขปัญหาการ ขาดแคลนพระสงฆ์ โดยปราชญ์ชาวบ้านและมัคคทายก จะต้องเข้าไปปฎิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมมือกันกับพระสงฆ์ในวัด พร้อมทั้งปลูกฝังให้คนในชุมชนมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัดและพระสงฆ์ ไวยาวัจกรร่วมมือกับพระสงฆ์และคณะกรรมการวัด จัดดำเนินการเกี่ยวกับการเงินของวัดให้มีความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ชาวบ้าน เยาวชนหนุ่มสาว ตระหนักถึงคุณค่าของวัดและพระสงฆ์ นำระบบบุญกุศลมาใช้ปฏิบัติ เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาวัด อุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ด้วยปัจจัยสี่สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
A Study of Guidelines of How to Strengthen Buddhist Institutions in Nakhon Ratchasima
Research Title: A Study of Guidelines of How to Strengthen Buddhist Institutions in Nakhon Ratchasima
Researchers: Asst. Prof. Pramual Tanya Asst. Prof. Kiatisak Nakprasit Asst. Prof. Somboon Tanya Phrakhrusungkharak Somchit Buddhaviriyo Phra Maha Khampeera Phurisilo Mr. Anuphab Tongpakdee
Institution: Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Nakhon Ratchasima Campus.
Fiscal Year: 2547 / 2004
Research Scholarship Sponsor: Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
The objective of the research was to study the guidelines to strengthen the Buddhist institutions in Nakhon Ratchasima regarding the factors, approaches or procedures of management and institutions or those who were responsible for the management. There were two phases in the research. The first phase concerned the gathering and summarizing data concerning Buddhist institutions in Nakhon Ratchasima from related literatures and their fundamental data. The second phase concerned the guidelines of how to strengthen the Buddhist institutions in Nakhon Ratchasima by conducing two workshops of the qualified specialists from both Buddhist monks and lay people. In the two workshops, there were 21 and 15 participants respectively. Consequently, the workshops resulted in the guidelines of how to strengthen Buddhist institutions in Nakhon Ratchasima as follows :
1. Regarding to Buddhist temples, the encouragement focussed on the buildings and areas, the management, the temple development and the Buddhist learning resources.
2. Regarding Buddhist monks and novices, the followings should be encouraged :- increasing number of Buddhist monks and novices, and developing Buddhist monks and novices’ characters.
3. Regarding Buddhists, they could be classified into three categories. The first category are those who handled and supported temple activities. They were lay bursars of a monastery, organizations or groups of local Buddhists.
All of the responsible working committee was institutions and personnel handling each job. They were office of Provincial Abbots Board. Abbots, lay bursars of the monastery, temples committee. Provincial Buddhism Office, Local Administration Office, Provincial Culture Office, Office of Education Region, as well as Mahachulalongkornrajavidyalaya university, Nakhon Ratchasima campus.
การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบัน พระพุทธศาสนาในจังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย: ผศ. ประมวล ตันยะ ผศ. เกียรติศักดิ์ นาคประสิทธิ์ ผศ. สมบูรณ์ ตันยะ พระครูสังฆรักษ์สมจิต พุทฺธวิริโย พระมหาคำภีร์ ภูริสีโล นายอานุภาพ ธงภักดี
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครราชสีมา ในประเด็นเกี่ยวกับองค์ประกอบหรือสิ่งที่ควรทำการเสริมสร้าง วิธีการหรือรูปแบบในการดำเนินการและหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมและสรุปข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครราชสีมา จากผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลพื้นฐานของสถาบันพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครราชสีมา ขั้นตอนที่ 2 กำหนดแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครราชสีมา โดยจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากฝ่ายคณะสงฆ์และฆราวาส จำนวน 2 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 21 รูป/คน และ 15 รูป/คน ตามลำดับ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการทั้ง 2 ครั้ง ได้แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครราชสีมา ดังต่อไปนี้
1. ด้านวัด สิ่งที่ควรทำการเสริมสร้างได้แก่ อาคารสถานที่ การบริหารจัดการ การพัฒนาวัด และแหล่งการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
2. ด้านพระภิกษุสามเณร สิ่งที่ควรทำการเสริมสร้างได้แก่ การเพิ่มจำนวนพระภิกษุสามเณร และการพัฒนาคุณลักษณะพระภิกษุสามเณร
3. ด้านพุทธศาสนิกชน ได้แยกเป็น 3 ส่วน คือ 1. พุทธศาสนิกชนที่ดูแลและสนับสนุนงานของวัด สิ่งที่ควรทำการเสริมสร้างได้แก่ การส่งเสริมให้มีการแต่งตั้งไวยาวัจกร องค์กร กลุ่มหรือชมรมพระพุทธศาสนาในท้องถิ่น และการจัดตั้งหรือพัฒนากองทุนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนาในทุกอำเภอ 2. พุทธศาสนิกชนที่เป็นประชาชนทั่วไป สิ่งที่ควรทำการเสริมสร้างได้แก่ การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในวัด การฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม และการปฏิบัติธรรม 3. พุทธศาสนิกชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษา สิ่งที่ควรทำการส่งเสริมได้แก่ การเรียนการสอนธรรมศึกษา การฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรม และการเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
ทั้งนี้ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ เป็นองค์กรและบุคคลที่เกี่ยวข้องในงานแต่ละด้าน ตั้งแต่สำนักงานเจ้าคณะจังหวัด อำเภอ ตำบล ศูนย์ปริยัตินิเทศก์ สำนักศาสนศึกษา เจ้าสำนักเรียนคณะจังหวัด เจ้าอาวาส ไวยาวัจกร กรรมการวัด สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
ผู้วิจัย: ผศ. ประมวล ตันยะ ผศ. เกียรติศักดิ์ นาคประสิทธิ์ ผศ. สมบูรณ์ ตันยะ พระครูสังฆรักษ์สมจิต พุทฺธวิริโย พระมหาคำภีร์ ภูริสีโล นายอานุภาพ ธงภักดี
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครราชสีมา ในประเด็นเกี่ยวกับองค์ประกอบหรือสิ่งที่ควรทำการเสริมสร้าง วิธีการหรือรูปแบบในการดำเนินการและหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมและสรุปข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครราชสีมา จากผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลพื้นฐานของสถาบันพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครราชสีมา ขั้นตอนที่ 2 กำหนดแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครราชสีมา โดยจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากฝ่ายคณะสงฆ์และฆราวาส จำนวน 2 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 21 รูป/คน และ 15 รูป/คน ตามลำดับ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการทั้ง 2 ครั้ง ได้แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนาในจังหวัดนครราชสีมา ดังต่อไปนี้
1. ด้านวัด สิ่งที่ควรทำการเสริมสร้างได้แก่ อาคารสถานที่ การบริหารจัดการ การพัฒนาวัด และแหล่งการเรียนรู้พระพุทธศาสนา
2. ด้านพระภิกษุสามเณร สิ่งที่ควรทำการเสริมสร้างได้แก่ การเพิ่มจำนวนพระภิกษุสามเณร และการพัฒนาคุณลักษณะพระภิกษุสามเณร
3. ด้านพุทธศาสนิกชน ได้แยกเป็น 3 ส่วน คือ 1. พุทธศาสนิกชนที่ดูแลและสนับสนุนงานของวัด สิ่งที่ควรทำการเสริมสร้างได้แก่ การส่งเสริมให้มีการแต่งตั้งไวยาวัจกร องค์กร กลุ่มหรือชมรมพระพุทธศาสนาในท้องถิ่น และการจัดตั้งหรือพัฒนากองทุนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนาในทุกอำเภอ 2. พุทธศาสนิกชนที่เป็นประชาชนทั่วไป สิ่งที่ควรทำการเสริมสร้างได้แก่ การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในวัด การฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม และการปฏิบัติธรรม 3. พุทธศาสนิกชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษา สิ่งที่ควรทำการส่งเสริมได้แก่ การเรียนการสอนธรรมศึกษา การฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรม และการเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
ทั้งนี้ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ เป็นองค์กรและบุคคลที่เกี่ยวข้องในงานแต่ละด้าน ตั้งแต่สำนักงานเจ้าคณะจังหวัด อำเภอ ตำบล ศูนย์ปริยัตินิเทศก์ สำนักศาสนศึกษา เจ้าสำนักเรียนคณะจังหวัด เจ้าอาวาส ไวยาวัจกร กรรมการวัด สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
The Image of Buddhist Institutions Perceived by The Buddhists in Nakhon Ratchasima
Research Title : The Image of Buddhist Institutions Perceived by The Buddhists in Nakhon Ratchasima
Researchers: Asst. Prof. Somboon Tanya Phrakhrusungkharak Somchit Buddhaviriyo PhraMaha Khampeera Phurisilo Asst. Prof. Kiatisak Nakprasit Asst. Prof. Pramual Tanya Mr. Anuphab Tongpakdee
Departement : Mahachulalongkornrajavidyalaya University,
Nakhon Ratchasima Campus
Fiscal Year : 2547 / 2004
Research Scholarship Sponsor : Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
The research aimed at studying and comparing the image of Buddhist institutions, perceived by Buddhists who were students and citizens living in Nakhon Ratchsima, regarding religious personnel (Buddhist monks and novices), religious lodgings (Buddhist temples), religious traditions (Buddhist ceremonies), and religious Dhamma (Buddhist sermons). Moreover, the sexes, ages, different levels of education, hometowns, and participation in religious activities of the students and the citizens were focussed.
The research sample group comprised of 1943 Buddhists, who were over 12 years old and living in Nakhon Ratchasima in 2004. The sample group was categorized into 995 citizens and 948 students. This number was said to be 97.15% of the total number of the set sample. Stratified random sampling was used in selecting the sample group so as to cover the areas and variables of the study. The 5 rating scale questionnaire with 34 items, constructed by the teamwork, was used in the data collection. Percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test were employed in the data analysis.
The findings of the research revealed that
1. Regarding the image of Buddhist institutions as perceived by the students and citizens in Nakhon Ratchasima, it was perceived to be at the high level in all aspects. The aspect relating to religious Dhamma was perceived to be the highest whereas the aspect relating to religious personnel was perceived to be the lowest. When specifically considered in terms of religious personnel, being venerable persons was perceived to be the highest. In terms of religious lodgings, being places for Buddhist religious activities and traditions was perceived to be the highest. In terms of religious traditions, being believable and venerable as perceived by the students to be the highest whereas being holy Buddhist activities and traditions was perceived by the citizens to be the highest. In terms of religious Dhamma, being calm and peaceful, venerable-minded was perceived to be the highest.
2. The citizens and the students in Nakhon Ratchasima showed different image of Buddhist institutions in terms of religious Dhamma.
3. Regarding the comparison of the image of Buddhist institutions, as perceived by the students and considering various variables, it yielded that
3.1 Regarding the religious personnel, students with different hometowns and studies showed different perception in the image of Buddhist institutions.
3.2 Students differently engaging in offering food to Buddhist monks, donating money and things to Buddhist temples, and participating in religious activies and traditions, showed different perception in the image of Buddhist institutions.
3.3 Students differently participating in Buddhist preaching activities showed different perception in the image of Buddhist institutions in Nakhon Ratchasima in two aspects-religious personnel and religious lodgings.
3.4 Students differently participating in Buddhist sermon listening showed different perception in the image of Buddhist institutions in three aspects-religious personnel, religious traditions, and religious Dhame.
3.5 Students differently participating in Buddhist religious pracetices showed different perception in the image of Buddhist institutions in two aspects-religious personnel and religious lodgings.
4. Regarding the comparison of the image of Buddhist institutions, as perceived by the citizens, and considering various variables, it yielded that
4.1 Citizens showed different perception in the image of Buddhist perception in three aspects-religious personnel, religious lodgings, and religious traditions.
4.2 Citizens living inside and outside the municipal areas showed different perception in the image of Buddhist institutions in three aspects-religious personnel, religious lodgings, and religious in three aspects-religious personnel, religious traditions, and religious Dhama.
4.3 Citizens with different ages showed different perception in the image of Buddhist institutions in the aspects-religious personnel, religious traditions, an religious Dhama.
4.4 Citizens with different education levels, different engaging in offering food to the monks, participating and Buddhist preaching activities, sermon listening, religious practices, donating money or things to the temples, organizations and the needed, as well as different participating in religious activities, showed different perception and the image of Buddhist institutions in all aspects.
การศึกษาภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาตามการรับรู้ของพุทธศาสนิกชน ในจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อรายงานวิจัย: การศึกษาภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาตามการรับรู้ของพุทธศาสนิกชน ในจังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย: ผศ. สมบูรณ์ ตันยะ พระครูสังฆรักษ์สมจิต พุทฺธวิริโย พระมหาคำภีร์ ภูริสีโล ผศ. เกียรติศักดิ์ นาคประสิทธิ์ ผศ. ประมวล ตันยะ นายอานุภาพ ธงภักดี
หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของสถาบัน พระพุทธศาสนาตามการรับรู้ของพุทธศาสนิกชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา ในด้านศาสนบุคคล (พระภิกษุสามเณร) ศาสนสถาน (วัด) ศาสนพิธี (พิธีกรรม) และศาสนธรรม (คำสั่งสอน) และเพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาตามการรับรู้ของพุทธศาสนิกชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา ตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ภูมิลำเนา และการเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ พุทธศาสนิกชนที่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ.2547 ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จำนวน 1,943 คน แยกเป็นประชาชนทั่วไป 995 คน และนักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป 948 คน คิดเป็นร้อยละ 97.15 ของกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอนให้ครอบคลุมพื้นที่และตัวแปรที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับ ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำนวน 34 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมามีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมาอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีการรับรู้ด้านศาสนธรรม สูงที่สุด ส่วนด้านที่มีการรับรู้ต่ำที่สุด คือ ด้านศาสนบุคคล เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ด้านศาสนบุคคล ข้อที่นักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปรับรู้สูงที่สุด คือ เป็นผู้ควรแก่การเคารพ กราบไหว้ ด้านศาสนสถาน ข้อที่นักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปรับรู้สูงที่สุด คือ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ด้านศาสนพิธี ข้อที่นักเรียนนักศึกษารับรู้สูงที่สุดคือ เป็นพิธีที่ น่าเชื่อถือ น่าศรัทธา น่าเลื่อมใส ส่วนข้อที่ประชาชนทั่วไปมีการรับรู้สูงสุดคือ เป็นพิธีที่แสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ด้านศาสนธรรม ข้อที่นักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปรับรู้สูงที่สุดคือทำให้จิตใจสงบผ่องใส
2. ประชาชนทั่วไปและนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดนครราชสีมามีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาด้านศาสนธรรมแตกต่างกัน
3. ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนา ของนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมาตามตัวแปรต่าง ๆ ได้ผลดังนี้
3.1 นักเรียนนักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนา แตกต่างกันทุกด้าน
3.2 นักเรียนนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาและระดับการศึกษาต่างกันมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาด้านศาสนบุคคลแตกต่างกัน
3.3 นักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมการตักบาตร/ถวายอาหารพระสงฆ์ การบริจาคเงินและสิ่งของให้วัด และการเข้าร่วมกิจกรรมของวัด ต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาทุกด้านแตกต่างกัน
3.4 นักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมการสวดมนต์ไหว้พระต่างกัน มีการรับรู้ ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาแตกต่างกัน จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านศาสนบุคคล และด้าน ศาสนสถาน
3.5 นักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมการฟังเทศน์ต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาแตกต่างกันจำนวน 3 ด้าน คือ ด้านศาสนบุคคล ด้านศาสนพิธี และด้าน ศาสนธรรม
3.6 นักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมการปฎิบัติธรรมต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาแตกต่างกัน จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านศาสนบุคคล และด้านศาสนพิธี
4. ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาของประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมาตามตัวแปรต่าง ๆ ได้ผลดังนี้
4.1 ประชาชนทั่วไปที่มีเพศต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาแตกต่างกัน จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านศาสนบุคคล ด้านศาสนสถานและด้าน ศาสนพิธี
4.2 ประชาชนทั่วไปที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาแตกต่างกันจำนวน 3 ด้าน คือ ด้านศาสนบุคคล ด้าน ศาสนสถาน และด้านศาสนธรรม
4.3 ประชาชนทั่วไปที่มีอายุต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนา แตกต่างกัน จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านศาสนบุคคล ด้านศาสนพิธี และด้านศาสนธรรม
4.4 ประชาชนทั่วไปที่มีระดับการศึกษาต่างกัน และที่เข้าร่วมกิจกรรมการตักบาตร/ถวายอาหารพระสงฆ์ การสวดมนต์ไหว้พระ การฟังเทศน์ การปฏิบัติธรรม การบริจาคเงินและสิ่งของให้วัด การบริจาคเงินหรือสิ่งของให้องค์กรการกุศลหรือบุคคลที่เดือดร้อน และเข้าร่วมกิจกรรมของวัด ต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาแตกต่างกันทุกด้าน
ผู้วิจัย: ผศ. สมบูรณ์ ตันยะ พระครูสังฆรักษ์สมจิต พุทฺธวิริโย พระมหาคำภีร์ ภูริสีโล ผศ. เกียรติศักดิ์ นาคประสิทธิ์ ผศ. ประมวล ตันยะ นายอานุภาพ ธงภักดี
หน่วยงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของสถาบัน พระพุทธศาสนาตามการรับรู้ของพุทธศาสนิกชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา ในด้านศาสนบุคคล (พระภิกษุสามเณร) ศาสนสถาน (วัด) ศาสนพิธี (พิธีกรรม) และศาสนธรรม (คำสั่งสอน) และเพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาตามการรับรู้ของพุทธศาสนิกชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา ตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ภูมิลำเนา และการเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ พุทธศาสนิกชนที่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ.2547 ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จำนวน 1,943 คน แยกเป็นประชาชนทั่วไป 995 คน และนักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป 948 คน คิดเป็นร้อยละ 97.15 ของกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอนให้ครอบคลุมพื้นที่และตัวแปรที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับ ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำนวน 34 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมามีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมาอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีการรับรู้ด้านศาสนธรรม สูงที่สุด ส่วนด้านที่มีการรับรู้ต่ำที่สุด คือ ด้านศาสนบุคคล เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ด้านศาสนบุคคล ข้อที่นักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปรับรู้สูงที่สุด คือ เป็นผู้ควรแก่การเคารพ กราบไหว้ ด้านศาสนสถาน ข้อที่นักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปรับรู้สูงที่สุด คือ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ด้านศาสนพิธี ข้อที่นักเรียนนักศึกษารับรู้สูงที่สุดคือ เป็นพิธีที่ น่าเชื่อถือ น่าศรัทธา น่าเลื่อมใส ส่วนข้อที่ประชาชนทั่วไปมีการรับรู้สูงสุดคือ เป็นพิธีที่แสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ด้านศาสนธรรม ข้อที่นักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปรับรู้สูงที่สุดคือทำให้จิตใจสงบผ่องใส
2. ประชาชนทั่วไปและนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดนครราชสีมามีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาด้านศาสนธรรมแตกต่างกัน
3. ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนา ของนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมาตามตัวแปรต่าง ๆ ได้ผลดังนี้
3.1 นักเรียนนักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนา แตกต่างกันทุกด้าน
3.2 นักเรียนนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาและระดับการศึกษาต่างกันมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาด้านศาสนบุคคลแตกต่างกัน
3.3 นักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมการตักบาตร/ถวายอาหารพระสงฆ์ การบริจาคเงินและสิ่งของให้วัด และการเข้าร่วมกิจกรรมของวัด ต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาทุกด้านแตกต่างกัน
3.4 นักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมการสวดมนต์ไหว้พระต่างกัน มีการรับรู้ ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาแตกต่างกัน จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านศาสนบุคคล และด้าน ศาสนสถาน
3.5 นักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมการฟังเทศน์ต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาแตกต่างกันจำนวน 3 ด้าน คือ ด้านศาสนบุคคล ด้านศาสนพิธี และด้าน ศาสนธรรม
3.6 นักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมการปฎิบัติธรรมต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาแตกต่างกัน จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านศาสนบุคคล และด้านศาสนพิธี
4. ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาของประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมาตามตัวแปรต่าง ๆ ได้ผลดังนี้
4.1 ประชาชนทั่วไปที่มีเพศต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาแตกต่างกัน จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านศาสนบุคคล ด้านศาสนสถานและด้าน ศาสนพิธี
4.2 ประชาชนทั่วไปที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาแตกต่างกันจำนวน 3 ด้าน คือ ด้านศาสนบุคคล ด้าน ศาสนสถาน และด้านศาสนธรรม
4.3 ประชาชนทั่วไปที่มีอายุต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนา แตกต่างกัน จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านศาสนบุคคล ด้านศาสนพิธี และด้านศาสนธรรม
4.4 ประชาชนทั่วไปที่มีระดับการศึกษาต่างกัน และที่เข้าร่วมกิจกรรมการตักบาตร/ถวายอาหารพระสงฆ์ การสวดมนต์ไหว้พระ การฟังเทศน์ การปฏิบัติธรรม การบริจาคเงินและสิ่งของให้วัด การบริจาคเงินหรือสิ่งของให้องค์กรการกุศลหรือบุคคลที่เดือดร้อน และเข้าร่วมกิจกรรมของวัด ต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของสถาบันพระพุทธศาสนาแตกต่างกันทุกด้าน
Practices towards The Doctrine and The Discipline and Social Duties of The Buddhist Monks in Nakhon Ratchasima
Research Title: Practices towards The Doctrine and The Discipline and Social Duties of The Buddhist Monks in Nakhon Ratchasima
Researchers: PhraMaha Khampeera Phurisilo Phrakhrusungkharak Somchit Buddhaviriyo Assist. Prof. Somboon Tanya Assist Prof. Kiatisak Nakprasit Assist Prof. Pramual Tanya Mr. Anuphab Tongpakdee
Department: Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Nakhon Ratchasima Campus
Fiscal Year: 2547 / 2005
Research Scholarship Sponsor: Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
The research aimed at studying the practices towards the doctrine and the discipline as well as social duties of the Buddhist monks in Nakhon Ratchasima and comparing the practices as perceived by the Nakhon Ratchasima Buddhist monks with different Buddhist monkhood ages, different educational qualifications in general knowledge section, Dhamma section, and Pali section. The research sample group was the 975 stretified Buddhist monks in Nakhon Ratchasima with their Buddhist monkhood ages over 1 year. The instrument used in the data collection was a checklist interview with 35 items assessing the practices towards the doctrine and the discipline of the Buddhist monks in Nakhon Ratchasima. The other was a multiple choice interview with 30 items assessing the social duties of those monks. The data was collected by the researcher and his teamwork employing frequency distribution, percentage and Chi-Square in the data analysis. The research finding was as follows :
1. Regarding the practices towards the doctrine and the discipline of the Buddhist monks in Nakhon Ratchasima, the following items were said to be the most complete practices :
1.1 In terms of moral discipline as regards the fundamental percepts, believe and trust in Buddha’s preaching, not to create disagreement among Buddhist monks, and not to be self – assertive were said to be the most complete practices.
1.2 In terms of the discipline as regards the sense – restraint, having concentration when eating, listening, and preaching focused on content – based rather than being fun, were said to be the most complete practices.
1.3 In terms of the discipline as regards the purity of livelihood, to abstain from deceiving others to gain benefit, to abstain from unreasonable requests from others, and to abstain from seeking illegal gain and diginity were said to be the most complete practices.
1.4 In terms of the discipline as regards the four requisites, to consider correct medicine appropriate to cure such disease when getting sick and to use suitable lodgings for living and necessity were said to be the most complete practices.
2. Regarding the practices towards social duties of the Buddhist monks in Nakhon Ratchasima, the following items were said to be the most frequent practices :
2.1 In terms of Dhamma dissemination, being good models in moral self – behaviour, Dhamma presentation on Dhamma days and religious traditional days were said to be the most frequent practices.
2.2 In terms of educational assistance, participating in supporting students and citizens to Dhamma study and Dhamma examination at different levels was said to be the most frequent practice.
2.3 In terms of public assistance or community development, participating in facilitating citizens to make merit and participating in organizing donation for helping the needed were said to be the most frequent practices.
2.4 In terms of public benefit, environmental and cultural preservation, participating in making temple areas to be clean, peaceful, cool and appropriate to religious practices and participating in the renovation of temple lodgings were said to be the most frequent.
3. Nakhon Ratchasima Buddhist monks, with different ranks, different monkhood ages, different educational backgrounds in general knowledge section, Dhamma section, and Bali section, showed different perception towards the social duty practices of the Buddhist monks in Nakhon Ratchasima at the .05 level of statistically significant difference.
การปฏิบัติตามพระธรรมวินัยและการปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมของพระสงฆ์ ในจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อรายงานการวิจัย: การปฏิบัติตามพระธรรมวินัยและการปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมของพระสงฆ์ ในจังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย: พระมหาคำภีร์ ภูริสีโล พระครูสังฆรักษ์สมจิต พุทฺธวิริโย ผศ. สมบูรณ์ ตันยะ ผศ. เกียรติศักดิ์ นาคประสิทธิ์ ผศ. ประมวล ตันยะ นายอานุภาพ ธงภักดี
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และการปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาและเพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยและการปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ตามการรับรู้ของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ที่มีสถานภาพ พรรษา วุฒิการศึกษาแผนกสามัญ แผนกนักธรรมและแผนกบาลีแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีพรรษา 1 พรรษาขึ้นไป จำนวน 975 รูป ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ วัดการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะของแบบสัมภาษณ์เป็นแบบตรวจสอบรายการ จำนวน 35 ข้อ และแบบสัมภาษณ์วัดการปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะของแบบสัมภาษณ์เป็นแบบเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยคณะผู้วิจัยและผู้ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การทดสอบไคสแคว์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ข้อที่มีจำนวนพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง รับรู้ว่ามีการปฏิบัติได้ครบถ้วนมากที่สุดในแต่ละด้าน มีดังนี้
1.1 ด้านปาฏิโมกขสังวรศีล ได้แก่ ศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่สร้างความแตกแยกในหมู่สงฆ์ และไม่อวดอ้างธรรมที่ตนไม่มี
1.2 ด้านอินทรียสังวรศีล ได้แก่ มีความสำรวมในการฉันอาหาร มีความสำรวมในการฟัง และแสดงธรรมที่เน้นเนื้อหาสาระมากกว่าความสนุกสนาน
1.3 ด้านอาชีวปาริสุทธิศีล ได้แก่ ละเว้นการหลอกลวงผู้อื่นเพื่อหวังผลประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น ละเว้นการร้องขอสิ่งต่าง ๆ จากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น และละเว้นการแสวงหาลาภยศโดยมิชอบ
1.4 ด้านปัจจัยสันนิสิตศีล ได้แก่ พิจารณาใช้ยารักษาโรคได้อย่างถูกต้องกับโรคยามเจ็บไข้ และใช้เสนาสนะที่เหมาะสมกับความเป็นอยู่และความจำเป็น
2. การปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมของพระสงฆ์ในจังหวัดนคราชสีมา ข้อที่มีจำนวนพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีการรับรู้ว่ามีการปฏิบัติมากที่สุดในแต่ละด้าน มีดังนี้
2.1 ด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม ได้แก่ การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีการแสดงธรรมต่อประชาชนในวันธัมมัสสวนะ และวันสำคัญทางศาสนา
2.2 ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ได้แก่ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้นักเรียนและประชาชนทั่วไปได้เรียนและสอบธรรมศึกษาชั้นต่าง ๆ
2.3 ด้านสาธารณสงเคราะห์ / พัฒนาชนบท ได้แก่ มีส่วนร่วมอำนวยความสะดวกในการบำเพ็ญกุศลของประชาชน และมีส่วนร่วมในการรับบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือประชาชน
2.4 ด้านสาธารณูปการ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ได้แก่ มีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมภายในวัดให้สะอาด สงบและร่มรื่น เหมาะสมกับการปฏิบัติศาสนกิจ และมีส่วนร่วมในการปฏิสังขรณ์เสนาสนะในวัด
3. พระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีตำแหน่งและพรรษาแตกต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ไม่แตกต่างกัน ส่วนพระสงฆ์ที่มีวุฒิการศึกษาแผนกสามัญ แผนกนักธรรมและแผนกบาลีแตกต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. พระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีตำแหน่ง พรรษา วุฒิการศึกษาแผนกสามัญ แผนกนักธรรมและแผนกบาลีแตกต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผู้วิจัย: พระมหาคำภีร์ ภูริสีโล พระครูสังฆรักษ์สมจิต พุทฺธวิริโย ผศ. สมบูรณ์ ตันยะ ผศ. เกียรติศักดิ์ นาคประสิทธิ์ ผศ. ประมวล ตันยะ นายอานุภาพ ธงภักดี
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และการปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาและเพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยและการปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ตามการรับรู้ของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ที่มีสถานภาพ พรรษา วุฒิการศึกษาแผนกสามัญ แผนกนักธรรมและแผนกบาลีแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีพรรษา 1 พรรษาขึ้นไป จำนวน 975 รูป ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ วัดการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะของแบบสัมภาษณ์เป็นแบบตรวจสอบรายการ จำนวน 35 ข้อ และแบบสัมภาษณ์วัดการปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ลักษณะของแบบสัมภาษณ์เป็นแบบเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยคณะผู้วิจัยและผู้ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การทดสอบไคสแคว์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา ข้อที่มีจำนวนพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง รับรู้ว่ามีการปฏิบัติได้ครบถ้วนมากที่สุดในแต่ละด้าน มีดังนี้
1.1 ด้านปาฏิโมกขสังวรศีล ได้แก่ ศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่สร้างความแตกแยกในหมู่สงฆ์ และไม่อวดอ้างธรรมที่ตนไม่มี
1.2 ด้านอินทรียสังวรศีล ได้แก่ มีความสำรวมในการฉันอาหาร มีความสำรวมในการฟัง และแสดงธรรมที่เน้นเนื้อหาสาระมากกว่าความสนุกสนาน
1.3 ด้านอาชีวปาริสุทธิศีล ได้แก่ ละเว้นการหลอกลวงผู้อื่นเพื่อหวังผลประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น ละเว้นการร้องขอสิ่งต่าง ๆ จากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น และละเว้นการแสวงหาลาภยศโดยมิชอบ
1.4 ด้านปัจจัยสันนิสิตศีล ได้แก่ พิจารณาใช้ยารักษาโรคได้อย่างถูกต้องกับโรคยามเจ็บไข้ และใช้เสนาสนะที่เหมาะสมกับความเป็นอยู่และความจำเป็น
2. การปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมของพระสงฆ์ในจังหวัดนคราชสีมา ข้อที่มีจำนวนพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีการรับรู้ว่ามีการปฏิบัติมากที่สุดในแต่ละด้าน มีดังนี้
2.1 ด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม ได้แก่ การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีการแสดงธรรมต่อประชาชนในวันธัมมัสสวนะ และวันสำคัญทางศาสนา
2.2 ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ได้แก่ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้นักเรียนและประชาชนทั่วไปได้เรียนและสอบธรรมศึกษาชั้นต่าง ๆ
2.3 ด้านสาธารณสงเคราะห์ / พัฒนาชนบท ได้แก่ มีส่วนร่วมอำนวยความสะดวกในการบำเพ็ญกุศลของประชาชน และมีส่วนร่วมในการรับบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือประชาชน
2.4 ด้านสาธารณูปการ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ได้แก่ มีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมภายในวัดให้สะอาด สงบและร่มรื่น เหมาะสมกับการปฏิบัติศาสนกิจ และมีส่วนร่วมในการปฏิสังขรณ์เสนาสนะในวัด
3. พระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีตำแหน่งและพรรษาแตกต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ไม่แตกต่างกัน ส่วนพระสงฆ์ที่มีวุฒิการศึกษาแผนกสามัญ แผนกนักธรรมและแผนกบาลีแตกต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. พระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีตำแหน่ง พรรษา วุฒิการศึกษาแผนกสามัญ แผนกนักธรรมและแผนกบาลีแตกต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมของพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
A Study of Buddhist Belief and Religious Practices of The Buddhists in Nakhon Rachasima
Research Title: A Study of Buddhist Belief and Religious Practices of The Buddhists in Nakhon Rachasima
Researchers: Assist Prof. Dr. Kiatisak Nakprasit Phrakhrusungkharak Somchit Buddhaviriyo Phra Maha Khampeera Phurisilo Phramaha Pongchet Dhiravangso Assist. Prof. Dr. Somboon Tanya Assist Prof. Pramual Tanya
Department: Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Nakhon Ratchasima Campus
Fiscal Year: 2547 / 2004
Research Scholarship Sponsor: Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
The research aimed at studying and comparing the Buddhist belief and religious practices of the Buddhists who were high school students and university students as well as the citizens in Nakhon Ratchasima, according to variables, sexes, education levels, hometowns, and eges. The research also aimed at finding out the relationship between the Buddhist belief and religious practices of the Buddhists who were high school students and university students as well as citizens in Nakhon Ratchasima. The research sample group comprised of 1,958 Buddhists in Nakhon Ratchasima that was categorized into 958 students and 1,000 citizens. The instrument used in collecting data was Prof. Dr. Duangduen Bhanthumnavin’s assessment in Buddhist belief and religious practices with 20 items. The type of the assessment was 6 rating-scales- from absolutely true to absolutely untrue. Percentage, mean, standard deviation, t-test, one way ANOVA, Scheffe’s, and Pearson’s for testing coefficient correlation were employed in the data analysis.
The findings of the research were as follow :
1. Regarding the Buddhist belief, students in Nakhon Ratchasima showed the high level, when generally considered. Specifically considered, belief in three sources of religious dependence was said to be the strongest whereas belief in Nirvana or ultimate goal was said to be the slightest. Female students showed stronger belief in Law of Karma than males. Students living outside the municipal area showed stronger belief in three sources of religious dependence and Law of Karma than those living inside the municipal area. Secondary school students showed stronger belief in three sources of religious dependence and Law of Karma than the undergraduates.
2. Regarding the Buddhist belief, citizens in Nakhon Ratchasima showed the high level, when generally and specifically considered. The belief in three sources of religious dependence was said to be the strongest whereas that in Law of Karma was the slightest. Female citizens showed stronger belief in Law of Karma than males. Citizen living outside the municipal area showed stronger belief in three sources of religious dependence than those living inside the municipal area. Citizens with the ages upper than 51 showed stronger belief in Nirvarna than the others. Citizen with different levels of studies did not show any difference in Buddhist belief.
3. Students in Nakhon Ratchasima showed stronger belief in Law of Karma than the citizens. However, the citizens showed stronger belief in three sources of religious dependence than the students.
4. Students in Nakhon Ratchasima had Buddhist religious practices at the high level, when generally and specifically considered. The practice relating to stages of meditation was at the high level whereas that relating to the act of giving was at the low level. Female students revealed more religious practices than males in all aspects. Students living outside the municipal area showed more religious practices than those living inside in all aspects. Secondary school students showed more religious practices in terms of the act of giving than the undergraduates. However, in terms of stages of meditation, the undergraduates showed more religious practices than the students.
5. Citizen in Nakhon Ratchasima performed Buddhist practices at the high level, when generally and specifically considered. The practice relating to stages of meditation was at the high level whereas that relating to the act of giving was at the low level. Female citizens showed more religious practices than males in the Five Percepts. Citizens living outside the municipal area showed more religious practices than those living inside in the act of giving and the Five Percepts. Citizens who were at least undergraduates showed more religious practices in all aspects than those who had secondary and primary educational backgrounds. Citizens with the ages upper than 51 showed more religious practices than those who were under 30 years old.
6. Students showed more religious practices in the act of stages of meditation than the citizens. However, the citizens showed more religious practices in the act of giving than the students.
7. The students’ and the citizens’ Buddhist belief and religious practices revealed positive correlation.
การศึกษาความเชื่อและการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน ในจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษาความเชื่อและการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน ในจังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย: ผศ. ดร. เกียรติศักดิ์ นาคประสิทธิ์ พระครูสังฆรักษ์สมจิต พุทฺธวิริโย พระมหาคำภีร์ ภูริสีโล พระมหาพงษ์เชฏฐ์ ธีรวํโส ผศ. ดร. สมบูรณ์ ตันยะ ผศ. ประมวล ตันยะ
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเชื่อและการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา ตามตัวแปร เพศ ระดับการศึกษา ภูมิลำเนา และอายุ รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน ที่เป็นนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมาด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นพุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1,958 คน แยกเป็นนักเรียนนักศึกษา จำนวน 958 คน และประชาชนทั่วไป 1,000 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบวัดความเชื่อและการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ของศาสตราจารย์ ดร.ดวงเดือน พันธุมนาวินและคณะ จำนวน 20 ข้อ ลักษณะของแบบวัดเป็นแบบมาตรประเมินรวมค่า ชนิด 6 ระดับ จากจริงมากที่สุด ถึงไม่จริงเลย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบรายคู่โดยวิธีการของ Scheffe‘ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. พุทธศาสนิกชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา มีความเชื่อทางพระพุทธศาสนาในระดับมาก ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกเป็นด้าน โดยมีความเชื่อเรื่อง ไตรสรณคมน์สูงที่สุด และมีความเชื่อเรื่องนิพพานต่ำที่สุด นักเรียนนักศึกษาหญิงมีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมมากกว่าชาย นักเรียนนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตเทศบาล มีความเชื่อเรื่อง ไตรสรณคมน์และเรื่องกฎแห่งกรรมมากกว่านักเรียนนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาล นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความเชื่อเรื่องไตรสรณคมน์และเรื่องกฎแห่งกรรม มากกว่านักศึกษาระดับอนุปริญญาขึ้นไป
2. พุทธศาสนิกชนที่เป็นประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา มีความเชื่อทางพระพุทธศาสนาในระดับมากทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน โดยมีความเชื่อเรื่อง ไตรสรณคมน์สูงที่สุด และมีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมต่ำที่สุด ประชาชนหญิงมีความเชื่อ เรื่องกฎแห่งกรรมมากกว่าชาย ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตเทศบาล มีความเชื่อเรื่อง ไตรสรณคมน์สูงกว่าประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาล ประชาชนที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป มีความเชื่อเรื่องไตรสรณคมน์และความเชื่อเรื่องนิพพานมากกว่าประชาชนกลุ่มอายุอื่น ๆ ประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความเชื่อทางพระพุทธศาสนาไม่แตกต่างกัน
3. พุทธศาสนิกชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา มีความเชื่อเรื่อง กฎแห่งกรรมมากกว่าประชาชนทั่วไป แต่ประชาชนทั่วไปมีความเชื่อเรื่องไตรสรณคมน์มากกว่านักเรียนนักศึกษา
4. พุทธศาสนิกชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา มีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน โดยมีการปฏิบัติในด้านภาวนาสูงที่สุด และมีการปฏิบัติด้านทานต่ำที่สุด นักเรียนนักศึกษาหญิงมีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนามากกว่าชายในทุกด้าน นักเรียนนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตเทศบาลมีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาสูงกว่านักเรียนนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลทุกด้าน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาด้านทานสูงกว่านักศึกษาระดับอนุปริญญาขึ้นไป ส่วนด้านภาวนา นักศึกษาระดับอนุปริญญาขึ้นไป มีการปฏิบัติสูงกว่านักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย
5. พุทธศาสนิกชนที่เป็นประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา มีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน โดยมีการปฏิบัติด้านภาวนาสูงที่สุด และมีการปฏิบัติด้านทานต่ำที่สุด ประชาชนหญิงมีการปฏิบัติด้านศีลมากกว่าชาย ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตเทศบาล มีการปฏิบัติด้านทาน และศีลมากกว่าประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาล ประชาชนที่มีการศึกษาระดับอนุปริญญาขึ้นไป มีการปฏิบัติในทุกด้านมากกว่าประชาชนที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษา ประชาชนที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป มีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนามากกว่าประชาชนที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี
6. พุทธศาสนิกชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษามีการปฏิบัติด้านภาวนามากกว่าประชาชนทั่วไป แต่ประชาชนทั่วไปมีการปฏิบัติด้านทานมากกว่านักเรียนนักศึกษา
7. ความเชื่อและการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา มีความสัมพันธ์กันทางบวก
Application of the Buddha’s Teaching in Socialization by Family in Strengthened Community for Prevention and Reduction of Drug Abuse among the Youth
Research Title: Application of the Buddha’s Teaching in Socialization by Family in Strengthened Community for Prevention and Reduction of Drug Abuse among the Youth
Researchers: Phramah Boonchuay Sirindharo
Phrabideeka Sitthipan Techathammo
Associ. Prof. Sansanee Ontuam
Mrs. Chailairudee Yuwanasiri
Mr. Prasert Pontin
Miss Sakuna Kongjan and Others
Department: Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Chieng Mai Campus
Fiscal Year: 2547 / 2004
Research Scholarship Sponsor: Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
This research was to study socialization of families which was strong community an application of the Buddha’s teachings for drug prevention, reduction and influence of community by means of Buddhist point of view. To conduct this research work, a number of concepts and theories involving were carefully reviewed i.e. concepts and experiences in solving drug problems in Thai society, concepts and theories of family and socialization, the Buddha’s teachings being applied by families as the principles of socialization and the concepts of community organization and strong community.
Since this research was partly concerned with field work, applied research. And the participatory action research (PAR) have been used for the methods of study in covering 128 of families in Ban Pea community, Ban Pea Sub-Districe, Chomthong district, Chiang Mai, Thailand. 7 families in the community have been selected as the sampling for this research.
The findings of this research were as follows:
Firstly, with regard to family socialization in a strong community, it was found that Ban Pea community possesses some unique factors i.e. cooperation, sharing of ideas, problem solving, social activity engagement, which were conductive to build a strong community. Moreover, it is interesting to note that parents play very important roles in family socialization. They are role of model for their children in living a good life such as –being rational following of the Buddha’s teachings etc. not only these parents’ roles create a desirable family, but they also pave the way for a happy family as well as a strong community.
Secondly, with respect application of the Buddha’s teaching for the prevention and reduction of drug abuse, it can be said that as Ban Pea community has been a follower of Buddhism for many generations. Buddhist temple is always regarded as a “Unity Centre” of community. The Buddha’s teachings that are frequently used for socialization me classified into four main categories i.e. child–oriented teaching, self-development, gratitude, and duty performance. Besides, socialization in the Buddhist perspective may be further type tied into four categories i.e. socialization with consideration of all components, equality, individual differences and the emphasis on child development. Application of thee factors, however, was still in the process of development so that the drug problem may really be eradicated.
Finally, with regard to influence of community on family socialization by means of Buddhism, it was found that Ban Pea community has many organizations with variedly of roles which were divided into three main groups i.e. economic organization political organization, and social and cultural organization,
Members of community may, however, be more than one organization. These groups are two characteristics depending on two backgrounds i.e. culture and government. The latter depends on external factors such as government support for its existence whereas the former relies of internal factors i.e. cooperation among community members.
It may be concluded that every existence and strength of community organizations depends on experience and participation of people the community through the process supported the government called “development’. It is interesting to note again that make group in the community is specialized in environmental management and income generating. Female group has a conservative idea and gives an emphasis on traditional social institutions. While youth group needs care for their family believe capacity to build a strong community with special emphasis on self sufficiency of economy which is suitable for sustainable community for the developing in the future.
การนำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาไปใช้ในกระบวนการขัดเกลาทางสังคมโดยครอบครัวในชุมชนเข้มแข็งเพื่อป้องกันและลดปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชน
ชื่อรายงานวิจัย: การนำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาไปใช้ในกระบวนการขัดเกลา
ทางสังคมโดยครอบครัวในชุมชนเข้มแข็งเพื่อป้องกันและลดปัญหา
ยาเสพติดของเด็กและเยาวชน
ผู้วิจัย: พระมหาบุญช่วย สิรินฺธโร พระใบฎีกาสิทธิพันธ์ เตชธมฺโม รศ.ศันสนีย์ อ่อนท้วม นางไฉไลฤดี ยุวนะศิริ นายประเสริฐ ปอนถิ่น นางสาวสกุณา คงจันทร์ นายอภิรมย์ สีดาคำ นายบุญเพียร แก้ววงศ์น้อย นายภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม นายยงยุทธ หลักชัย
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
ปีงบประมาณ: ๒๕๔๗
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการขัดเกลาทางสังคมของครอบครัวที่มีต่อเด็กและเยาวชนในชุมชนเข้มแข็ง กระบวนการขัดเกลาทางสังคมภายในครอบครัวโดยนำเอาหลัก คำสอนของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการป้องกันและลดปัญหายาเสพติด และอิทธิพลของกลุ่มองค์กรชุมชนที่พัฒนาตนเอง จนกลายเป็นชุมชนเข้มแข็งที่มีต่อกระบวนการขัดเกลาทางสังคมภายในครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา
การศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาประสบการณ์แนวคิดในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของสังคมไทย แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับครอบครัวและการขัดเกลาทางสังคม แนวคิดในการนำหลัก คำสอนพระพุทธศาสนาไปใช้ในกระบวนการขัดเกลาทางสังคมโดยครอบครัว และแนวคิดเกี่ยวกับองค์กรชุมชนกับชุมชนเข้มแข็ง
ในการวิจัยภาคสนาม คณะผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research - PAR) กับชาวบ้านในชุมชนบ้านแปะ ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น ๑๒๘ ครัวเรือน โดยคณะผู้วิจัยได้เลือกครอบครัวตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน ๗ ครอบครัว
ในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้แบ่งประเด็นในการศึกษาเป็น ๓ ประเด็น คือ
ประเด็นแรก การศึกษากระบวนการขัดเกลาทางสังคมของครอบครัว ที่กระทำต่อเด็กและเยาวชนในชุมชนเข้มแข็ง พบว่า ครอบครัวส่วนใหญ่ในชุมชนบ้านแปะมีลักษณะที่เอื้อต่อการอบรมขัดเกลา สมาชิกในครอบครัวมีการช่วยเหลือเกื้อกูล มีการพูดคุยกัน ทำให้เกิดความสามัคคี และสามารถร่วมแก้ปัญหากันอย่างสร้างสรรค์ มีการใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกัน พ่อแม่มีความรับผิดชอบ ประกอบอาชีพสุจริต ส่งเสริมให้ลูกได้รับการศึกษา ทำตนเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต มีคุณธรรม มีการใช้เหตุผล ตลอดจนมีการปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา ลักษณะเหล่านี้นอกจากจะเป็นลักษณะของครอบครัวที่พึงประสงค์แล้ว ยังเป็นสิ่งที่เอื้อให้การขัดเกลาทางสังคมได้ผลดี สามารถสร้างครอบครัวให้น่าอยู่ และนำไปสู่การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งได้ในที่สุด
ประเด็นที่สอง การศึกษากระบวนการขัดเกลาทางสังคมภายในครอบครัว โดยนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาใช้ในการป้องกันและลดปัญหายาเสพติด พบว่า ชุมชนบ้านแปะ เป็นชุมชนที่ทุกครอบครัวนับถือพระพุทธศาสนาสืบต่อกันมาช้านาน โดยมีสำนึกทางประวัติศาสตร์ในฐานะเป็นข้ากัลปนาของวัด มีตราสัญลักษณ์และพิธีกรรมที่เชื่อมโยงกับสถาบันกษัตริย์ในอดีต ทำให้ชาวบ้านในชุมชนมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสถาบันพระพุทธศาสนา และมีศาสนสถานสำคัญคือ วัดบ้านแปะ ที่เป็นจุดศูนย์กลางทางจิตวิญญาณของชุมชน ดังนั้น กระบวนการ ขัดเกลาทางสังคมภายในครอบครัวของชุมชนบ้านแปะจึงนำเอาหลักพระพุทธศาสนามาใช้ โดยสรุป ได้ ๔ ประการ คือ
๑) การให้ความสำคัญกับเด็ก
๒) การฝึกฝนพัฒนาตนเอง
๓) ความกตัญญูกตเวที
๔) การปฏิบัติตามหน้าที่
๓) ความกตัญญูกตเวที
๔) การปฏิบัติตามหน้าที่
นอกจากนี้ ในกระบวนการขัดเกลาทางสังคมแนวพุทธยังมีหลักการสำคัญอีก ๔ ประการ คือ
๑) การขัดเกลาแบบครบองค์ประกอบ
๒) การขัดเกลาด้วยความเสมอภาค
๑) การขัดเกลาแบบครบองค์ประกอบ
๒) การขัดเกลาด้วยความเสมอภาค
๓) คำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล และ
๔) เห็นความสำคัญในการฝึกฝนพัฒนาตนเองของเด็ก อย่างไรก็ตาม การนำหลักการดังกล่าวมาประยุกต์อาจยังต้องได้รับการพัฒนาต่อไป เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดอย่างแท้จริง
ประการสุดท้าย การศึกษาอิทธิพลของกลุ่มองค์กรชุมชน ที่พัฒนาตนเองจนกลายเป็นชุมชนเข้มแข็ง ที่มีต่อกระบวนการขัดเกลาทางสังคมภายในครอบครัว ตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า กลุ่มองค์กรในชุมชนบ้านแปะมีอยู่จำนวนหลายกลุ่มและมีความหลากหลายในบทบาทหน้าที่ สามารถแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ คือ
๑) กลุ่มองค์กรทางเศรษฐกิจ
ประการสุดท้าย การศึกษาอิทธิพลของกลุ่มองค์กรชุมชน ที่พัฒนาตนเองจนกลายเป็นชุมชนเข้มแข็ง ที่มีต่อกระบวนการขัดเกลาทางสังคมภายในครอบครัว ตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า กลุ่มองค์กรในชุมชนบ้านแปะมีอยู่จำนวนหลายกลุ่มและมีความหลากหลายในบทบาทหน้าที่ สามารถแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ คือ
๑) กลุ่มองค์กรทางเศรษฐกิจ
๒) กลุ่มองค์กรทางการเมือง และ
๓) กลุ่มองค์กรสงเคราะห์และวัฒนธรรม สมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่จะสังกัดกลุ่มองค์กรมากกว่าหนึ่งองค์กรขึ้นไป
ลักษณะของกลุ่มสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) กลุ่มที่เกิดขึ้นจากวัฒนธรรมดั้งเดิม กลุ่มประเภทนี้สามารถดำรงองค์กรอยู่ได้ด้วยวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งมีไม่มากนัก และ
๒) กลุ่มที่เกิดขึ้นจากการริเริ่มหรือจัดตั้งโดยภาครัฐ ความเข้มแข็งของกลุ่มขึ้นอยู่กับปัจจัย ๒ ด้าน คือ
๒.๑) ปัจจัยภายนอก โดยมีภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน มีบทบาทในฐานะเป็นแหล่งผลประโยชน์ให้แก่ชุมชน แหล่งเงินกู้ในชุมชน หรือเกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมือง และ
๒.๒)ปัจจัยภายใน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ทั้งนี้การที่จะดำรงองค์กรอยู่ได้นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านมาของชาวบ้าน โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “การพัฒนา” ของภาครัฐ อันมีอิทธิพลสำคัญในการสร้างวิธีคิดแก่สมาชิกในองค์กรชุมชนก่อน แล้วถ่ายทอดลงสู่วิธีคิดของสมาชิกในครอบครัวต่อไป และจากการศึกษาพบประเด็นที่น่าสนใจว่า กลุ่มองค์กรชุมชนมีอิทธิพลต่อกลุ่มต่าง ๆ ในครอบครัวแตกต่างกัน โดยเฉพาะกับกลุ่มพ่อบ้านที่เน้นในเรื่อง การจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำมาหากินเป็นหลัก ในขณะที่กลุ่มแม่บ้านมีความคิดในเชิงอนุรักษ์มากกว่า และเน้นความสำคัญของสถาบันทางสังคมที่มีอยู่เดิม
ส่วนกลุ่มเด็กและเยาวชนกลับมีมิติการมองเห็นภาพองค์รวมของชุมชนได้อย่างน่าสนใจ และมีความ ใกล้เคียงกับภาพความจริง และได้เสริมมิติของความรักความอบอุ่นจากการจัดความสัมพันธ์ในครอบครัวและการรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในชุมชน ไม่เน้นการจัดการแบบสมัยใหม่แต่ให้ความสำคัญกับการจัดการตามศักยภาพของชุมชน โดยยึดหลักความพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในอนาคต
๓) กลุ่มองค์กรสงเคราะห์และวัฒนธรรม สมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่จะสังกัดกลุ่มองค์กรมากกว่าหนึ่งองค์กรขึ้นไป
ลักษณะของกลุ่มสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) กลุ่มที่เกิดขึ้นจากวัฒนธรรมดั้งเดิม กลุ่มประเภทนี้สามารถดำรงองค์กรอยู่ได้ด้วยวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งมีไม่มากนัก และ
๒) กลุ่มที่เกิดขึ้นจากการริเริ่มหรือจัดตั้งโดยภาครัฐ ความเข้มแข็งของกลุ่มขึ้นอยู่กับปัจจัย ๒ ด้าน คือ
๒.๑) ปัจจัยภายนอก โดยมีภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุน มีบทบาทในฐานะเป็นแหล่งผลประโยชน์ให้แก่ชุมชน แหล่งเงินกู้ในชุมชน หรือเกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมือง และ
๒.๒)ปัจจัยภายใน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ทั้งนี้การที่จะดำรงองค์กรอยู่ได้นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านมาของชาวบ้าน โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “การพัฒนา” ของภาครัฐ อันมีอิทธิพลสำคัญในการสร้างวิธีคิดแก่สมาชิกในองค์กรชุมชนก่อน แล้วถ่ายทอดลงสู่วิธีคิดของสมาชิกในครอบครัวต่อไป และจากการศึกษาพบประเด็นที่น่าสนใจว่า กลุ่มองค์กรชุมชนมีอิทธิพลต่อกลุ่มต่าง ๆ ในครอบครัวแตกต่างกัน โดยเฉพาะกับกลุ่มพ่อบ้านที่เน้นในเรื่อง การจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำมาหากินเป็นหลัก ในขณะที่กลุ่มแม่บ้านมีความคิดในเชิงอนุรักษ์มากกว่า และเน้นความสำคัญของสถาบันทางสังคมที่มีอยู่เดิม
ส่วนกลุ่มเด็กและเยาวชนกลับมีมิติการมองเห็นภาพองค์รวมของชุมชนได้อย่างน่าสนใจ และมีความ ใกล้เคียงกับภาพความจริง และได้เสริมมิติของความรักความอบอุ่นจากการจัดความสัมพันธ์ในครอบครัวและการรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในชุมชน ไม่เน้นการจัดการแบบสมัยใหม่แต่ให้ความสำคัญกับการจัดการตามศักยภาพของชุมชน โดยยึดหลักความพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในอนาคต
A Study of Management Model and Social Impacts on Population in Nakhon Si Thammarat Province from Implementation of the fund Project for the Villages
Research Title : A Study of Management Model and Social Impacts on Population in Nakhon Si Thammarat Province from Implementation of the fund Project for the Villages and Uban Community
Researchers : Asst. Prof. Somboon Boonrit Mr. Suchat Piyakanjana
Department : Nakhon Si Thammarat Campus
Fiscal Year : 2547 / 2004
Research Scholarship Sponsor : Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
This Research project was to study model management and social impacts on population in Nakhon Si Thammarat province form implementation of found project for the villages and urban community. This research was conducting in light of study of management model and social impact on the population in Nakhon Si Thammarat province from implementation of the found project for the villages and urban community. The major objectives of this research were as the following:
1. to study model management from some of the implementation of the fund project for the villagers and urban community.
2. to study of its impacts on the population in Nakhon Si Thammarat resulted fund project of the villagers and urban community on society, morality, economics and occupations.
3. to study of its problems and suggestions undertaking into villagers fund project and urban community in Nakhon Si Thammarat
Methods of research project:
The researcher has been provided for the form of interviews and questionnaires as a tool for this research work, sample groups of people conducting as a committee to look after the fund of villages and urban about 218 persons, and sample population groups in villages undertaking to the fund of villages and urban committee in Nakhon Si Thammarat about 372 cases. The total of the samples were about five hundred and forty five cases. The researcher collected all data form of the filed work with the helping of some of assistant researcher about five persons who will be collected data in the due fields.
Data analysis: the researcher has to use primary statistics in order to analyses e.g. percentage, average and standard deviation.
The consequences of research project can be found as follows:
1. The fund project for the villages and urban community in Nakhon Si Thammarat largely used a management model in order to carry on the funds n the course of project providing for handbook and an obligation derived it from the office of the prime minister pertaining for the fund project of the villagers and urban committee in 2001; and according to the rules and regulations of the office of the prime minister in–terms of constituting and exciting for the fund of the villagers urban community in 2001. Its committee worked together at the level of the fund’s management according to its project in high level.
2. Its social impacts on the population in Nakhon Si Thammarat was causing from undertaking the fund project urban community. The project can be seen in societies as above mentioned.
2.1 The impact in society: this can be largely seen form its impacts towards the population relating to the medium level as a positive side, e.g. this aims at promoting to community’s leaderships, standard of living of the people to be better than before in general. And then, people also took part n working and coordinating together according to their activities for more benefits in societies.
For the negative side, it has raised upon the people’s duty to earn more in order to pay back on their more indebtedness. People will have to wait for the other helping project form the government more and more. It can also then took part in making for the home politicians taking a stage to rise in their favorable votes of themselves and their parties as well.
2.2 The impact on morality: This can be seen the there has been found all its effects in relating to population on the medium level. For the positive side, e.g. it is a great part towards people who are taking part in their responsibility for them and community. It also took part in more promises, self reliance and society respectively. For the negative side, this can also made people to more extravagances more untruly expenditure and more bickering to one another
2.3 The impacts on the economics and occupations: This can also be seen that they have been fund for the project which impacted toward the population at the medium level. For the positive side, its was a great part relating to people who has experience in a way in order to proceed to their occupation with more energetic towards their occupation, more employment. For the negative side, it also was made the people to have consumed n their expenditures, more expends on their comfortable living and harder working.
3. Problems, obstacles and suggestions: we found the great problems and obstacles have been relating to the committee lacking of knowledge and understanding upon management as systematically. Moreover, the management and balance check, there has no centre to be its own, and waning for advice form the government concern. By and large, people do not understand any principle and project’s target, taking o paying full attention to repay on the fund. They could not buy because they have to spend their money according to their objectives, lacking of preparedness proceeding to the project.
For any suggestion, they should offer a course for training which the villager of community and provide for a place and facilities and more adequate purposes. They should be publicized some of information disseminated in order to now and understanding onwards. Raining and added occupation must be provided for people. And the government should encourage any promotion, occupation search toward tot the market with regard to except people’s products, preparedness by contributing its fund. The capital’s mobilization must be increased in its members to bring about favorable savings. The contribution of the fund project should be provided for all members. And measurement should be coerced or punished for those who violent.
Researchers : Asst. Prof. Somboon Boonrit Mr. Suchat Piyakanjana
Department : Nakhon Si Thammarat Campus
Fiscal Year : 2547 / 2004
Research Scholarship Sponsor : Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
This Research project was to study model management and social impacts on population in Nakhon Si Thammarat province form implementation of found project for the villages and urban community. This research was conducting in light of study of management model and social impact on the population in Nakhon Si Thammarat province from implementation of the found project for the villages and urban community. The major objectives of this research were as the following:
1. to study model management from some of the implementation of the fund project for the villagers and urban community.
2. to study of its impacts on the population in Nakhon Si Thammarat resulted fund project of the villagers and urban community on society, morality, economics and occupations.
3. to study of its problems and suggestions undertaking into villagers fund project and urban community in Nakhon Si Thammarat
Methods of research project:
The researcher has been provided for the form of interviews and questionnaires as a tool for this research work, sample groups of people conducting as a committee to look after the fund of villages and urban about 218 persons, and sample population groups in villages undertaking to the fund of villages and urban committee in Nakhon Si Thammarat about 372 cases. The total of the samples were about five hundred and forty five cases. The researcher collected all data form of the filed work with the helping of some of assistant researcher about five persons who will be collected data in the due fields.
Data analysis: the researcher has to use primary statistics in order to analyses e.g. percentage, average and standard deviation.
The consequences of research project can be found as follows:
1. The fund project for the villages and urban community in Nakhon Si Thammarat largely used a management model in order to carry on the funds n the course of project providing for handbook and an obligation derived it from the office of the prime minister pertaining for the fund project of the villagers and urban committee in 2001; and according to the rules and regulations of the office of the prime minister in–terms of constituting and exciting for the fund of the villagers urban community in 2001. Its committee worked together at the level of the fund’s management according to its project in high level.
2. Its social impacts on the population in Nakhon Si Thammarat was causing from undertaking the fund project urban community. The project can be seen in societies as above mentioned.
2.1 The impact in society: this can be largely seen form its impacts towards the population relating to the medium level as a positive side, e.g. this aims at promoting to community’s leaderships, standard of living of the people to be better than before in general. And then, people also took part n working and coordinating together according to their activities for more benefits in societies.
For the negative side, it has raised upon the people’s duty to earn more in order to pay back on their more indebtedness. People will have to wait for the other helping project form the government more and more. It can also then took part in making for the home politicians taking a stage to rise in their favorable votes of themselves and their parties as well.
2.2 The impact on morality: This can be seen the there has been found all its effects in relating to population on the medium level. For the positive side, e.g. it is a great part towards people who are taking part in their responsibility for them and community. It also took part in more promises, self reliance and society respectively. For the negative side, this can also made people to more extravagances more untruly expenditure and more bickering to one another
2.3 The impacts on the economics and occupations: This can also be seen that they have been fund for the project which impacted toward the population at the medium level. For the positive side, its was a great part relating to people who has experience in a way in order to proceed to their occupation with more energetic towards their occupation, more employment. For the negative side, it also was made the people to have consumed n their expenditures, more expends on their comfortable living and harder working.
3. Problems, obstacles and suggestions: we found the great problems and obstacles have been relating to the committee lacking of knowledge and understanding upon management as systematically. Moreover, the management and balance check, there has no centre to be its own, and waning for advice form the government concern. By and large, people do not understand any principle and project’s target, taking o paying full attention to repay on the fund. They could not buy because they have to spend their money according to their objectives, lacking of preparedness proceeding to the project.
For any suggestion, they should offer a course for training which the villager of community and provide for a place and facilities and more adequate purposes. They should be publicized some of information disseminated in order to now and understanding onwards. Raining and added occupation must be provided for people. And the government should encourage any promotion, occupation search toward tot the market with regard to except people’s products, preparedness by contributing its fund. The capital’s mobilization must be increased in its members to bring about favorable savings. The contribution of the fund project should be provided for all members. And measurement should be coerced or punished for those who violent.
การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการและผลกระทบทางสังคมที่มีต่อประชากรในจังหวัดนครศรีธรรมราช จากการดำเนินการตามโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ชื่อรายงานการวิจัย : การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการและผลกระทบทางสังคมที่มีต่อ
ประชากรในจังหวัดนครศรีธรรมราช จากการดำเนินการตามโครงการ
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมบูรณ์ บุญฤทธิ์ นายสุชาติ ปิยะกาญจน์
ส่วนงาน : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
ปีงบประมาณ : ๒๕๔๗
ทุนอุดหนุนการวิจัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการและผลกระทบทางสังคมที่มีต่อประชากรในจังหวัดนครศรีธรรมราชจากการดำเนินการตามโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ
๑. เพื่อศึกษารูปแบบในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ในด้านวิธีการจัดตั้งกองทุน และด้านการบริหารจัดการกองทุน
๒. เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อประชากรในจังหวัดนครศรีธรรมราช อันเกิดจากการดำเนินการตามโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ในด้านสังคม ด้านคุณธรรม และด้านเศรษฐกิจและอาชีพ
๓. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ ในการดำเนินการตามโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในจังหวัดนครศรีธรรมราช
วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน ๒๑๘ ตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในหมู่บ้านที่มีการดำเนินการตามโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๓๒๗ ตัวอย่าง รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน ๕๔๕ ตัวอย่าง การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยให้ผู้ช่วยนักวิจัยจำนวน ๕ คน เก็บข้อมูลในพื้นที่ที่กำหนด
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
๑. คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่ ใช้รูปแบบในการบริหารจัดการกองทุนตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ในคู่มือ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔ มีภาพรวมของระดับในการบริหารจัดการกองทุนอยู่ในระดับมาก
๒. ผลกระทบทางสังคมที่มีต่อประชากรในจังหวัดนครศรีธรรมราช จากการดำเนินการตามโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พบว่ามีผลกระทบทางสังคม ดังนี้
๒.๑ ผลกระทบด้านสังคม พบว่า มีภาพรวมของผลกระทบต่อประชากรอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีผลกระทบในด้านบวก คือ มีส่วนทำให้เกิดภาวะผู้นำในชุมชน มีส่วนทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น และมีส่วนทำให้ประชาชนได้มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น ส่วนผลกระทบในด้านลบ คือ มีส่วนทำให้ประชาชนมีภาระในการหาเงินใช้หนี้มากขึ้น มีส่วนทำให้ประชาชนมีการรอคอยโครงการช่วยเหลืออื่นๆ จากรัฐบาลมากขึ้น และมีส่วนทำให้นักการเมืองระดับประเทศมีโอกาสสร้างคะแนนนิยมให้แก่ตนเองและพรรคมากขึ้น
๒.๒ ผลกระทบด้านคุณธรรม พบว่า มีภาพรวมของผลกระทบต่อประชากร อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีผลกระทบในด้านบวก คือ มีส่วนทำให้ประชาชนมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อชุมชนมากขึ้น มีส่วนทำให้ประชาชนมีสัจจะมากขึ้น และมีส่วนทำให้ประชาชนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ส่วนผลกระทบในด้านลบ คือ มีส่วนทำให้ประชาชนมีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขึ้น มีส่วนทำให้ประชาชนขาดวินัยในการใช้จ่ายมากขึ้น และมีส่วนทำให้ประชาชนมีการทะเลาะเบาะแว้งกันมากขึ้น
๒.๓ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและอาชีพ พบว่า มีภาพรวมของผลกระทบต่อประชากรอยู่ในระดับปานกลางโดยมีผลกระทบในด้านบวกคือ มีส่วนทำให้ประชาชนมีช่องทางในการประกอบอาชีพมากขึ้น มีส่วนทำให้ประชาชนมีความคล่องตัวในการประกอบอาชีพมากขึ้น และมีส่วนทำให้ประชาชนมีงานทำเพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบในด้านลบ คือ มีส่วนทำให้ประชาชนมีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคมากขึ้น มีส่วนทำให้ประชาชนมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น และมีส่วนทำให้ประชาชนต้องทำงานหนักมากขึ้น
๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ พบว่า มีปัญหาอุปสรรคสำคัญคือ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองขาดความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการที่เป็นระบบการจัดทำและการตรวจสอบบัญชี ไม่มีสถานที่ทำการกองทุนที่เป็นศูนย์กลางและเป็นเอกเทศ และขาดการให้คำปรึกษาแนะนำจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ประชาชนไม่เข้าใจหลักการและวัตถุประสงค์ของโครงการ ขาดความรับผิดชอบในการชำระคืนเงินกู้แก่กองทุน ไม่นำเงินกู้ไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และชุมชนขาดความพร้อมในการดำเนินการตามโครงการ ส่วนข้อเสนอแนะในการดำเนินการ คือ ควรมีการอบรมให้ความรู้ในด้านต่างๆ ที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองต้องการ ควรจัดหาสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินการให้เพียงพอ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน ควรมีการจัดอบรมอาชีพเสริมแก่ประชาชน รัฐควรเข้ามาส่งเสริมอาชีพและหาตลาดรองรับผลผลิตที่เกิดจากการนำเงินกู้จากกองทุนไปดำเนินการ รัฐควรส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มหรือจัดตั้งกลุ่มเพื่อการผลิต ควรมีการเตรียมความพร้อมของชุมชนก่อนการจัดสรรเงินกองทุนให้ ควรมีการระดมทุนเพิ่มจากสมาชิกโดยนำหลักการของกองทุนสัจจะออมทรัพย์มาใช้ ควรมีการกระจายเงินกองทุนให้ทั่วถึง และควรมีมาตรการในการลงโทษผู้ที่ผิดสัญญาชำระคืนเงินกู้แก่กองทุนและไม่นำเงินกู้ไปใช้ตามวัตถุประสงค์
A Study the Relations between Administrations’ Leadership and Perception towards and Academic Administrative Effectiveness in Buddhist University
Research Title: A Study the Relations between Administrations’ Leadership and Perception towards and Academic Administrative Effectiveness in Buddhist University
Researcher: Dr. Siriwat Srikhruedong Phramaha Tongsri Akawangso (Akpan) Dr.Chaisit Tongborisut
Department: Department of Psychology, Faculty of Humanities, Mahachulalongkornrajavidyalaya University
Fiscal Year: 2547 / 2004
Research Scholarship Sponsor: Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
This was a survey research with the following objectives:
(1) to study level of administrators’ leadership style in Mahachulalongkornrjavidyalaya University, level of perception of department conditions, effectiveness of academic and general administrations;
(2) to compare the difference in leadership style which were different in biographical data,
(3) to compare the difference in level of perception ,
(4) to study the relationship between leadership style, department conditions and the effectiveness of academic and general administrations.
The samples were one hundred and seventy one administrators in Mahachula longkornrajavidyalaya University. The research instruments were questionnaires consisting of four sections:
(1) biographical data,
(2) leadership behavior,
(3) department conditions and
(4) the effectiveness of academic and general administrations.
The research findings were; the administrators’ style in Mahachulalong kornrajavidyalaya University was compounds between affiliation and achievement styles. The perception of department conditions concerning the interrelationship between administrator co-workers was in high level, where the condition of work-structure and administrations’ power were in moderate level. The perceptions of the effectiveness of academic and general administrations were in moderate level.
The differences in biographical data such as age, work experiences, educational level, academic level, academic level, duration in present positions and department were not affect leadership style. The difference in leadership style was not affect to level of perception of department conditions and effectiveness of administrations.
There were relationships between leadership style, perception of department conditions and effectiveness of administration. There were relationships between perception of interrelation between administrator-co-workers and work structure: between interrelation between administrator-co-workers and effectiveness of administrations. There were relationships between perception of work structure and administrators’.
Researcher: Dr. Siriwat Srikhruedong Phramaha Tongsri Akawangso (Akpan) Dr.Chaisit Tongborisut
Department: Department of Psychology, Faculty of Humanities, Mahachulalongkornrajavidyalaya University
Fiscal Year: 2547 / 2004
Research Scholarship Sponsor: Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
This was a survey research with the following objectives:
(1) to study level of administrators’ leadership style in Mahachulalongkornrjavidyalaya University, level of perception of department conditions, effectiveness of academic and general administrations;
(2) to compare the difference in leadership style which were different in biographical data,
(3) to compare the difference in level of perception ,
(4) to study the relationship between leadership style, department conditions and the effectiveness of academic and general administrations.
The samples were one hundred and seventy one administrators in Mahachula longkornrajavidyalaya University. The research instruments were questionnaires consisting of four sections:
(1) biographical data,
(2) leadership behavior,
(3) department conditions and
(4) the effectiveness of academic and general administrations.
The research findings were; the administrators’ style in Mahachulalong kornrajavidyalaya University was compounds between affiliation and achievement styles. The perception of department conditions concerning the interrelationship between administrator co-workers was in high level, where the condition of work-structure and administrations’ power were in moderate level. The perceptions of the effectiveness of academic and general administrations were in moderate level.
The differences in biographical data such as age, work experiences, educational level, academic level, academic level, duration in present positions and department were not affect leadership style. The difference in leadership style was not affect to level of perception of department conditions and effectiveness of administrations.
There were relationships between leadership style, perception of department conditions and effectiveness of administration. There were relationships between perception of interrelation between administrator-co-workers and work structure: between interrelation between administrator-co-workers and effectiveness of administrations. There were relationships between perception of work structure and administrators’.
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการรับรู้ประสิทธิภาพการบริหารงาน ของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยสงฆ์
ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการรับรู้ประสิทธิภาพ
การบริหารงาน ของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยสงฆ์
ผู้วิจัย: ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง พระมหาทองศรี เอกวํโส (เอกพันธ์)
ดร. ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์
ส่วนงาน: ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำ การรับรู้สภาพการณ์ของหน่วยงาน และประสิทธิผลการบริหารวิชาการและการบริหารงานทั่วไป ของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยสงฆ์
2) เพื่อศึกษาความแตกต่างในลักษณะผู้นำ การรับรู้สภาพการณ์ของหน่วยงาน และประสิทธิผลการบริหารวิชาการ และการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารที่มีปัจจัยภูมิหลังแตกต่างกัน
3) เพื่อศึกษาความแตกต่าง ในการรับรู้สภาพการณ์ของหน่วยงาน และประสิทธิผลการบริหารวิชาการและการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารที่มีพฤติกรรมมุ่งงานและมุ่งสัมพันธ์
4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ สภาพการณ์ของหน่วยงานและประสิทธิผลการบริหารวิชาการและการบริหารงานทั่วไป
กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย ทั้งจากส่วนกลางและวิทยาเขตทั่วประเทศ จำนวน 171 รูป/ท่าน สุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นซึ่งมี 4 ตอน คือ 1) แบบสอบถามประวัติและภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง 2) แบบสอบถามวัดพฤติกรรมผู้นำ 3) แบบสอบถามวัดสภาพการณ์ในหน่วยงาน และ 4) แบบสอบถามวัดประสิทธิผลของการบริหารวิชาการและการบริหารงานทั่วไป ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้
ภาวะผู้นำของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีลักษณะพฤติกรรมแบบผสมผสานระหว่างใฝ่สัมพันธ์และใฝ่สัมฤทธิ์บางโอกาส การรับรู้สภาพการณ์ของหน่วยงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่ในระดับสูง ด้านโครงสร้างของงานในหน่วยงานอยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ประสิทธิผลการบริหารวิชาการและการบริหารงานทั่วไป อยู่ในระดับปานกลาง
ความแตกต่างด้านภูมิหลังซึ่งประกอบด้วย อายุ อายุงาน สังกัดของผู้บริหาร (มหาวิทยาลัยส่วนกลางและวิทยาเขต) ระดับการศึกษาสูงสุด ระดับตำแหน่งบริหาร อายุงานในตำแหน่งปัจจุบัน และสังกัดคณะ/หน่วยงาน ไม่มีผลต่อลักษณะพฤติกรรมผู้นำ ระดับการรับรู้สภาพการณ์ของหน่วยงาน ประสิทธิผลการบริหารวิชาการ และประสิทธิผลการบริหารทั่วไป ความแตกต่างด้านลักษณะพฤติกรรมผู้นำ มีผลต่อการรับรู้สภาพการณ์ของหน่วยงานด้านอำนาจตามตำแหน่ง แต่ไม่มีผลต่อการรับรู้สภาพการณ์ของหน่วยงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างานและผู้ใต้บังคับบัญชาด้านโครงสร้างงานในหน่วยงาน ประสิทธิผลการบริหารวิชาการและประสิทธิผลการบริหารทั่วไป
มีความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำและการรับรู้สภาพการณ์ของหน่วยงาน ระหว่างพฤติกรรมผู้นำและความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการ และระหว่างพฤติกรรมผู้นำและความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารงานทั่วไปมีความสัมพันธ์ ระหว่างการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชาและการรับรู้โครงสร้างงานในหน่วยงาน ระหว่างการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชาและอำนาจในตำแหน่ง ระหว่างการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชาและประสิทธิผลการบริหารวิชาการ และระหว่างการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชา และประสิทธิผลการบริหารทั่วไป มีความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โครงสร้างงานในหน่วยงาน และอำนาจในตำแหน่ง ระหว่างการรับรู้โครงสร้างงานในหน่วยงาน และประสิทธิผลการบริหารวิชาการ และระหว่างการรับรู้โครงสร้างงานในหน่วยงานและประสิทธิผลการบริหารทั่วไป
A Study of Dissemination of Thai Theravada Buddhism in the United States of America
Research Title: A Study of Dissemination of Thai Theravada Buddhism in the United States of America
Researchers: Phramaha Vinai Boonnanano, Dr.Pricha Methavatcharapak,
Miss mayuri Duangsri
Department: a Buddhist Research institute Mahachulalongkornrajavidyalaya University
Fiscal Year: 2547/2004
Research Scholarship Sponsor: Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ABSTRACT
The research entitled “A Study of dissemination of Thai Theravada Buddhism in the United States of America” was undertaken with the following objectives;
1) to study the history of dissemination of Thai Theravada Buddhism in U.S.A.,
2) to study the roles of the Thai Sangha in disseminating Thai Theravada Buddhism in U.S.A.,
3) to study the impacts of the dissemination of Thai Theravada Buddhism in U.S.A., and
4) to study Buddhists’ opinions towards the overseas going Buddhist missionary monks’ dissemination of Buddhism in U.S.A.
The data were collected from overseas going Buddhist missionary monks and Thai Buddhists in U.S.A. by using the questionnaires. The collected data were analyzed by content analysis.
It was found that the overseas going Thai Buddhist missionary monks still have the qualifications which are not in accord with the situations of disseminating Buddhism in U.S.A., especially those qualifications in terms of administration and management and working process such as leadership. vision, and planning and decision-making process.
Concerning the Thai Buddhist missionary monks’ roles, it was found that the Thai people in U.S.A. have accepted their roles. However, those Thai people have felt that the Thai Buddhist missionary monks have not yet played the roles assigned to them as well as possible. Such a feeling was also found with the Thai Buddhist missionary monks. When evaluating the consensus of the opinions between Thai Buddhists and Buddhist missionary monks, it was found that there must be a need to develop the Thai Buddhist missionary monks’ ability to communicate in English which may have resulted in playing the poor role among the American people and the foreigners in U.S.A. as well.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)