วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ดร.บัว พลรัมย์

ประวัติผู้ร่วมวิจัย

1. ชื่อ นายบัว ชื่อสกุล พลรัมย์
ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 51/12 หมู่ 9 ต. บางไผ่ ถ.บางแวก ซ.พนาสันต์ 1 เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160

2. ประวัติการศึกษา
- พธ.บ. (มานุษยสงเคราะห์ศาสตร์) มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- M.A (Sociology) Poona University of India
- Ph.D. (Social Science) Maghadh University of India

3. ตำแหน่งปัจจุบัน
- อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะสังคมศาสตร์ สาขาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- เลขานุการ และกรรมการที่ปรึกษาสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพฯ

4. ประสบการณ์การทำงาน
- ผู้อำนวยการ โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาฯ (2527-2529)
- อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม (2529-2534)
- อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาฯ (2534-2540)
- อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาฯ (2541-2543)
- อาจารย์สอนโครงการภาคภาษาอังกฤษ ระดับ ม.1-ม.4 โรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพฯ (2543-2549)

5. ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
- นักวิจัยแห่งชาติ รหัสประจำตัว 3800-0041

- โครงการวิจัยเรื่อง “ทัศนะของพระวิทยากรที่มีต่อโครงการพัฒนาเยาวชนภาคฤดูร้อนของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ปี พ.ศ.2534 (ผู้ร่วมวิจัย)

- เป็นที่ปรึกษา โครงการวิจัยเรื่อง “การวิจัยการสร้างรายวิชากระบวนการคิดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา หน่วยงานนิเทศ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ.2536”

- โครงการวิจัยเรื่อง “พระสงฆ์กับบทบาทในการพัฒนาเยาวชน : ศึกษาเฉพาะกรณีบทบาทในการให้การศึกษาและฝึกอบรมแก่เยาวชนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์” ปี พ.ศ.2542 (ผู้ร่วมวิจัย)

- เรื่อง “ศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการเผยแผ่ศีลธรรมต่อประชาชน ทางสถานีวิทยุกระจาย เสียงในประเทศไทย” ปี พ.ศ.2546 (ผู้ร่วมวิจัย)

- เรื่อง “การศึกษาพฤติกรรมการรับข่าวสารของประชาชนที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาภูมิปัญญาในการพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางพระพุทธศาสนา” ปี พ.ศ.2547 (ผู้ร่วมวิจัย)

- เรื่อง “การรับข่าวสารจากสื่อมวลชนของพระสังฆาธากรเพื่อเผยแพร่และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ยั่งยืน” ปี พ.ศ.2548 (ผู้ร่วมวิจัย)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น