ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดแพร่
ผู้วิจัย: พระครูปลัดพรหมเรศ โชติวโร,
นายสมจิต ขอนวงค์,
นายเกรียงศักดิ์ ฟองคำ,
นายธนานุกูล ศรีคำภา,
นางชลธิชา จิรภัคพงค์
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
ปีงบประมาณ: 2548 / 2005
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาและเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจังหวัดแพร่ตามความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยงและคณะกรรมการบริหารศูนย์ ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการจัดกิจกรรมอบรมเลี้ยงดูเด็ก
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ คณะกรรมการบริหาร จำนวน 153 รูป/คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 55 คน รวมทั้งสิ้น 208 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นมากกว่า 0.05 การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการจัดเก็บด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสถิติทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจังหวัดแพร่ 5 ด้าน มีดังนี้
1.1 ด้านบุคลากร ส่วนใหญ่มีจำนวนเด็ก ต่ำกว่า 30 คน โดยมีเพศชายอยู่ในช่วงอายุ 3-4 ปี ครูพี่เลี้ยง ส่วนใหญ่มีจำนวนศูนย์ละ 1-3 คน คณะกรรมการบริหารศูนย์ 6-10 คน สำหรับวุฒิการศึกษาครูพี่เลี้ยงเด็ก ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และเคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับดูแลเด็กมาแล้ว การดำเนินงานของกรรมการบริหารศูนย์ ส่วนใหญ่มีการประชุมเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด และส่วนใหญ่ไม่เคยมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์
1.2 ด้านงบประมาณ ส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์จากองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนการชำระเงินบำรุงศูนย์ไม่มีการเก็บค่าบำรุง และไม่เก็บค่าอาหารกลางวัน
1.3 อาคารสถานที่ ส่วนใหญ่มีเนื้อที่ 1-2 งาน สถานที่ตั้งของศูนย์ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในวัด ลักษณะอาคารเรียนเป็นอาคารถาวรอยู่ในสภาพที่ดี
1.4 ด้านวัสดุอุปกรณ์ ทุกศูนย์มีวัสดุอุปกรณ์เครื่องเล่นในสนาม ประเภทของเครื่องเล่น สำหรับอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ และมีการจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ การเรียนการสอนโดยจัดเป็นมุมประสบการณ์
1.5 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มีการจัดกิจกรรมอบรมเลี้ยงดูเด็กตามความเหมาะสมและมีการจัดกิจกรรมเน้นการพัฒนาเด็กด้านต่าง ๆ เท่าเทียมกัน
2. ปัญหาการบริหารงานของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจังหวัดแพร่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านการจัดกิจกรรมอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยภาพรวมมีปัญหาในระดับปานกลาง
3. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดแพร่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านการจัดกิจกรรมอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยภาพรวมมีปัญหาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
1. สภาพของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจังหวัดแพร่ 5 ด้าน มีดังนี้
1.1 ด้านบุคลากร ส่วนใหญ่มีจำนวนเด็ก ต่ำกว่า 30 คน โดยมีเพศชายอยู่ในช่วงอายุ 3-4 ปี ครูพี่เลี้ยง ส่วนใหญ่มีจำนวนศูนย์ละ 1-3 คน คณะกรรมการบริหารศูนย์ 6-10 คน สำหรับวุฒิการศึกษาครูพี่เลี้ยงเด็ก ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และเคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับดูแลเด็กมาแล้ว การดำเนินงานของกรรมการบริหารศูนย์ ส่วนใหญ่มีการประชุมเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด และส่วนใหญ่ไม่เคยมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์
1.2 ด้านงบประมาณ ส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์จากองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนการชำระเงินบำรุงศูนย์ไม่มีการเก็บค่าบำรุง และไม่เก็บค่าอาหารกลางวัน
1.3 อาคารสถานที่ ส่วนใหญ่มีเนื้อที่ 1-2 งาน สถานที่ตั้งของศูนย์ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในวัด ลักษณะอาคารเรียนเป็นอาคารถาวรอยู่ในสภาพที่ดี
1.4 ด้านวัสดุอุปกรณ์ ทุกศูนย์มีวัสดุอุปกรณ์เครื่องเล่นในสนาม ประเภทของเครื่องเล่น สำหรับอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ และมีการจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ การเรียนการสอนโดยจัดเป็นมุมประสบการณ์
1.5 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มีการจัดกิจกรรมอบรมเลี้ยงดูเด็กตามความเหมาะสมและมีการจัดกิจกรรมเน้นการพัฒนาเด็กด้านต่าง ๆ เท่าเทียมกัน
2. ปัญหาการบริหารงานของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจังหวัดแพร่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านการจัดกิจกรรมอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยภาพรวมมีปัญหาในระดับปานกลาง
3. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด จังหวัดแพร่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านการจัดกิจกรรมอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยภาพรวมมีปัญหาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น