ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติเชิงจริยธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์และนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐบาล
ผู้วิจัย: พระมหาวิเชาว์ ปญฺญาวชิโร ดร. และคณะ
ส่วนงาน: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปีงบประมาณ: 2548
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บทคัดย่อ
การศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติเชิงจริยธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์และนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐบาล
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 213 รูป ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) และนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐบาล จำนวน 226 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งเป็นกลุ่ม (cluster sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติเชิงจริยธรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการวิจัยพบว่า
(1) โดยเฉลี่ยรวม นิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมอยู่ในขั้นที่ 5 คือขั้นตัดสินใจทำความดี เพราะทำตามคำมั่นสัญญาและข้อตกลงของสังคม ซึ่งนับว่า เป็นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในระดับขั้นที่สูง ตามทฤษฎีการพัฒนาทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
(2) ในด้านเจตคติเชิงจริยธรรม พบว่า นิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์ มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย โดยภาพรวมมีเจตคติเชิงจริยธรรมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.39)
(3) สำหรับนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐบาล พบว่า นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐบาล มีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ในขั้นที่ 5 คือ ขั้นที่ทำความดีเพราะทำตามคำมั่นสัญญาและข้อตกลงของสังคม ซึ่งนับว่าเป็นพัฒนาการทางจริยธรรมระดับสูงตามทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก ซึ่งนับได้ว่านิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์และนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐบาลมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมอยู่ในขั้นที่ 5 เช่นเดียวกัน
(4) ในด้านเจตคติเชิงจริยธรรม พบว่า โดยค่าเฉลี่ยรวมนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐบาล มีเจตคติเชิงจริยธรรมในระดับปานกลาง ( =3.49) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยเจตคติเชิงจริยธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์ ( =3.39)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น