วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การศึกษาสภาพปัญหาการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดแพร่


ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษาสภาพปัญหาการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดแพร่
ผู้วิจัย: พระครูโสภณพัฒนานุยุต พระใบฎีกาอุดร อุตฺตรเมธี
นายเกรียงศักดิ์ ฟองคำ นายธนานุกูล ศรีคำภา
นางสาวอรอนงค์ วูวงศ์
ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลับ วิทยาเขตแพร่
ปีงบประมาณ: 2548
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดแพร่ ใน 3 ด้านคือ ด้านการเตรียมการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการติดตามและประเมินผล และเปรียบเทียบสภาพปัญหาการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดแพร่ ใน 3 ด้านคือ ด้านการเตรียมการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการติดตามและประเมินผล จำแนกตามสถานภาพของครูผู้สอนและประสบการณ์ของผู้สอน

ประชากรที่ศึกษาได้แก่ ครูผู้สอน พระภิกษุและฆราวาส ที่นำภูมิปัญญาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดแพร่ จำนวน 7 โรงเรียน เป็นครูพระภิกษุ จำนวน 25 รูป และครูฆราวาส จำนวน 48 คน รวมทั้งหมด 73 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นมากกว่า 0.5 การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการเก็บด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที และค่าทดสอบเอฟ

ผลการวิจัยพบว่า :

1. การศึกษาสภาพปัญหาการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดแพร่ ใน 3 ด้าน คือ ด้านการเตรียมการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการติดตามและประเมินผล พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน

2. ผลการเปรียบเทียบสภาพปัญหาการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดแพร่ ใน 3 ด้าน คือ ด้านการเตรียมการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการติดตามและประเมินผล จำแนกตามสถานภาพของครูผู้สอน พบว่า

ด้านการเตรียมการสอน จำแนกตามสถานภาพของครูผู้สอนที่แตกต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ศึกษาวิเคราะห์แหล่งภูมิปัญญาเกี่ยวกับการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน

ด้านการจัดการเรียนการสอน จำแนกตามสภาพของครูผู้สอนที่แตกต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ด้านการติดตามและประเมินผล จำแนกตามสภาพของครูผู้สอนที่แตกต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ประเมินการฝึกประสบการจริงแตกต่างกัน

3. ผลการเปรียบเทียบสภาพปัญหาการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดแพร่ ใน 3 ด้าน คือ ด้านการเตรียมการสอน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการติดตามและประเมินผล จำแนกตามประสบการณ์ของครูผู้สอน

ด้านการเตรียมการสอน จำแนกตามประสบการณ์ของครูผู้สอนที่แตกต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ด้านการจัดการเรียนการสอน จำแนกตามประสบการณ์ของครูผู้สอนที่แตกต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ด้านการติดตามและประเมินผล จำแนกตามสภาพประสบการณ์ของครูผู้สอนที่แตกต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น