วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพ การศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


ชื่อรายงานการวิจัย: การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพ การศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผู้วิจัย: ดร. จำเริญรัตน์ เจือจันทร์ พระมหาคัมภีร์ พันจันดา พระมหายุทธนา พูนเกิดมะเริง
ส่วนงานวิจัย: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปีงบประมาณ: ๒๕๔๘
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา และเพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอนดังนี้

1. ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้กรอบประเด็นสำหรับนำมาสร้างเป็นเครื่องมือการวิจัยและนำไปตรวจสอบคุณภาพ นำไปรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างหลังจากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งผลการวิจัยในขั้นตอนนี้พบว่า

ผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ จำนวน 286 คน ได้ตอบแบบสอบถาม 215 คน จึงได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 215 ชุด คิดเป็นร้อยละ 75.17 ในจำนวน 215 ชุด ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้มีระดับการศึกษาปริญญาโทมากที่สุด ร้อยละ 87.37 รองลงมาได้แก่ผู้มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 6.05 มีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไปมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68.84 รองลงมามีประสบการณ์ทำงานระหว่าง 6-10 ปี คิดเป็นร้อย 27.44 มีตำแหน่งเป็นอาจารย์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 85.58 รองลงมามีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ สำนัก คิดเป็นร้อยละ 5.58 ผู้ตอบแบบสอบถามสังกัดวิทยาเขตอุบลราชธานีมีจำนวนมาก คิดเป็นร้อย 20.93 รองลงมาได้แก่ผู้ตอบแบบสอบถามจากวิทยาเขตนครราชสีมา คิดเป็นร้อยละ 14.42

ผู้ตอบแบบสอบถามมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยภาพรวมพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับปานกลางทุกด้านเมื่อพิจารณารายด้านรวม 8 ด้านเรียงลำดับความสำคัญพบว่าลำดับที่ 1 ได้แก่การดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา ลำดับที่ 2 ได้แก่การดำเนินการเพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก ลำดับที่ 3 ได้แก่การดำเนินการตามวิธีการประเมินตนเอง ลำดับที่ 4 ได้แก่การดำเนินการตามวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ลำดับที่ 5 ได้แก่การดำเนินการตรวจสอบคุณภาพภายใน ลำดับที่ 6 ได้แก่การดำเนินการจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง ลำดับที่ 7 ได้แก่การดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินตนเองและลำดับที่ 8 ได้แก่การดำเนินการควบคุมคุณภาพการศึกษา

2. ผู้วิจัยนำผลการวิจัยที่ผู้ตอบแบบสอบถามได้ตอบเรียบร้อยแล้วมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป หากมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 2.50 ผู้วิจัยนำมาพัฒนาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ นำมาสร้างเป็นแบบสอบถาม นำไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญ 27 คนในรอบที่ 1 และนำมาวิเคราะห์หาค่าความสอดคล้องได้ค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.5 จำนวน 156 ข้อความและต่ำกว่า 0.5 จำนวน 3 ข้อความ

3. ผู้วิจัยนำดัชนีที่มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.5 มาจัดทำเป็นแบบสอบถาม หากมีค่าความสอดคล้องต่ำกว่า 0.5 ผู้วิจัยนำมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อจัดทำเป็นแบบสอบถาม เพื่อนำไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถามจำนวน 27 คนในรอบที่ 2 และรอบที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์พบว่า

(1) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากที่สุด ว่าเป็นรูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจำนวน 1 ข้อความได้แก่ข้อการกำหนดปรัชญา ปณิธานสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยและผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมาก ว่าเป็นรูปแบบจำนวน 1 ข้อความ

(2) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากว่าเป็นรูปแบบในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจำนวน 19 ข้อความและผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นระดับปานกลางว่าเป็นรูปแบบ จำนวน 1 ข้อความ

(3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมคุณภาพการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมาก ว่าเป็นรูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจำนวน 30 ข้อความ

(4) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากที่สุด ว่าเป็นรูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจำนวน 1 ข้อความได้แก่การมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง และผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมาก ว่าเป็นรูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม จำนวน 10 ข้อความ

(5) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตรวจสอบคุณภาพภายใน ผู้เชี่ยวชาญเห็นในระดับมาก ว่าเป็นรูปแบบในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม จำนวน 25 ข้อความและผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับปานกลาง ว่าเป็นรูปแบบจำนวน 5 ข้อความ
(6) ด้านการมีส่วนร่วม ในการดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ผู้เชี่ยวชาญเห็นในระดับมากที่สุด ว่าเป็นรูปแบบในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม จำนวน 1 ข้อความได้แก่การมีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อประมวลจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากว่าเป็นรูปแบบ จำนวน 8 ข้อความ และมีความเห็นในระดับปานกลางว่าเป็นรูปแบบ จำนวน 3 ข้อความ

(7) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามวิธีการประเมินตนเอง ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากว่าเป็นรูปแบบในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา แบบมีส่วนร่วมจำนวน 25 ข้อความและผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับปานกลางว่าเป็นรูปแบบ จำนวน 5 ข้อความ
(8) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากว่าเป็นรูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม จำนวน 10 ข้อความ

จากสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลบูรณาการเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วม ในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพิจารณาจากข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อมูลระดับการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรเรียงลำดับตามความสำคัญ พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อความ และพิจารณาจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความเห็นสอดคล้องกันในระดับมากที่สุดและระดับมากว่าเป็นรูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงได้รูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพแบบมีส่วนร่วมดังนี้

1. การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยของผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินการเรียงตามลำดับความสำคัญแต่ละด้านดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา ลำดับที่ 2 ด้านการดำเนินการเพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก ลำดับที่ 3 ด้านการดำเนินการตามวิธีการประเมินตนเอง ลำดับที่ 4 ด้านการดำเนินการตามวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ลำดับที่ 5 ด้านการดำเนินการตรวจสอบคุณภาพภายใน ลำดับที่ 6 ด้านการดำเนินการจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง ลำดับที่ 7 ด้านการดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ลำดับที่ 8 ด้านการดำเนินการควบคุมคุณภาพการศึกษา

2. พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องซึ่งมีมากกว่า 0.5 จำนวน 156 ข้อความ และมีต่ำกว่า 0.5 จำนวน 3 ข้อความ

3. พิจารณาความสอดคล้องว่าเป็นรูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา แบบมีส่วนร่วมโดยพิจารณาจากค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ดังนี้

(1) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากที่สุดว่าเป็นรูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจำนวน 1 ข้อความได้แก่การกำหนดปรัชญา ปณิธานสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากว่าเป็นรูปแบบจำนวน 1 ข้อความ

(2) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากว่าเป็นรูปแบบในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจำนวน 19 ข้อความและผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นระดับปานกลางว่าเป็นรูปแบบ จำนวน 1 ข้อความ

(3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมคุณภาพการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากว่าเป็นรูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจำนวน 30 ข้อความ

(4) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากที่สุดว่าเป็นรูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจำนวน 1 ข้อความได้แก่การมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผนจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง และผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากว่าเป็นรูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม จำนวน 10 ข้อความ

(5) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตรวจสอบคุณภาพภายใน ผู้เชี่ยวชาญเห็นในระดับมากว่าเป็นรูปแบบในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม จำนวน 25 ข้อความและผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับปานกลางว่าเป็นรูปแบบ จำนวน 5 ข้อความ

(6) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ผู้เชี่ยวชาญเห็นในระดับมากที่สุดว่าเป็นรูปแบบในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม จำนวน 1 ข้อความได้แก่การมีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อประมวลจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากว่าเป็นรูปแบบ จำนวน 8 ข้อความและมีความเห็นในระดับปานกลางว่าเป็นรูปแบบ จำนวน 3 ข้อความ

(7) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามวิธีการประเมินตนเอง ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมาก ว่าเป็นรูปแบบในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม จำนวน 25 ข้อความและผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับปานกลาง ว่าเป็นรูปแบบ จำนวน 5 ข้อความ

(8) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นในระดับมากว่าเป็นรูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบมีส่วนร่วม จำนวน 10 ข้อความ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น