วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาธรรมะภาคปฏิบัติ


ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษาความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาธรรมะภาคปฏิบัติ
ผู้วิจัย: พระมหาไสว ญาณวีโร, พระมหาวิชาญ สุวิชาโน, นางสาวกนิษฐา บุญยัง
หน่วยงาน: ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปีงบประมาณ: 2547
ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัยที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาธรรมภาคปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีต่อความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ และความไม่พึงพอใจของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอน และ ประเมินผลการเรียนวิชาธรรมภาคปฏิบัติในด้านเนื้อหาหลักสูตร และศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งเสริมการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน

กลุ่มตัวอย่าง คือ พระนิสิตชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2547 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือ คณะพุทธศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ จำนวน 192 รูป

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่ออาจารย์ผู้สอนในระดับมาก กับประเด็นที่ว่า มีความเหมาะสม และนอกจากนั้นยัง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นต่อกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับมาก กับประเด็นที่ว่า วิชาธรรมะภาคปฏิบัติน้อยเกินไป กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นต่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนในระดับมาก กับประเด็นที่ว่า สถานที่ปฏิบัติธรรมมีเสียงรบกวนตลอดเวลาต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของวิชาธรรมะภาคปฏิบัติ 5-6 สถานที่เรียนมีความพลุกพล่านมากเกินไป

การประเมินผลการเรียนการสอน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก กับประเด็นที่ว่า สัดส่วนระหว่างคะแนนภาคทฤษฎีและปฏิบัติของวิชาธรรมะภาคปฏิบัติ 5-6 มีความถูกต้องเหมาะสมดี

การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความไม่พึงพอใจของพระนิสิตชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาธรรมภาคปฏิบัติ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นต่อการเรียนการสอนด้านเนื้อหา หลักสูตรในระดับน้อย กับประเด็นที่ว่าวิชาธรรมภาคปฏิบัติ เป็นวิชาที่ไม่ควรบังคับให้พระนิสิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยศึกษาควรให้เป็นวิชาเลือก

จากการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ด้านหลักสูตรเนื้อหา ควรมีการเสริมเนื้อหาของการปฏิบัติ และควรมีสถานที่เรียนเฉพาะ เพื่อเน้นสำหรับการปฏิบัติกรรมฐาน 2. ด้านอาจารย์ผู้สอน ควรปรับวิธีการสอนให้เน้นการปฏิบัติมากกว่านี้ 3. ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนควรเพิ่มกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับทฤษฎี 4. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน มีความเห็นว่าไม่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน เนื่องจากผู้คนพลุกพล่าน 5. สัมพันธภาพระหว่าง พระอาจารย์กับนิสิต ควรเพิ่มสัมพันธภาพระหว่างอาจารย์กับพระนิสิตมากกว่า โดยควรเข้าให้ถึงพระนิสิตให้มากกว่านี้ 6. การประเมินผลการเรียนการสอน ของอาจารย์นั้นอยู่ในขั้นดี การประเมินผลการเรียนการสอนควรประเมินก่อนเปิดเทอม เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลเป็นห่วงที่จะต้องอ่านวิชาธรรมภาคปฏิบัติมาสอบ และทำให้ผลสำเร็จในการเรียนน้อย เนื่องจากพระนิสิตไม่ค่อยสนใจเรียนมากนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น